หน้าเว็บ

วันศุกร์

(IMC) การโฆษณา : Advertising

การโฆษณา Advertising


การโมษณา คือ การเสนอข่าวสารการขาย หรือแจ้งข่าวสารให้บุคคลที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทราบเกี่ยวกับสินค้า บริการ หรือแนวความคิด โดยเจ้าของหรือผู้อุปถัมภ์เปิดเผยตนเอง มีการจ่ายเงินเพื่อการใช้สื่อ และเป็นการเสนอข้อมูลที่มิใช่เป็นการส่งบุคคลเข้าไปติดต่อโดยตรง

คำจำกัดความของการโฆษณา
การนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อที่ไม่ใช่ตัวบุคคล รวมทั้งการส่งเสริมเผยแพร่ความคิดเห็นสินค้าหรือบริการและต้องจ่ายเงินโดยผู้สนับสนุนที่ระบุไว้

การโฆษณา (Advertising) การนำเสนอต้องผ่านสื่อกลางที่ไม่ใช่ตัวบุคคล
- การระบุผู้อุปถัมภ์: ต้องบอกว่าใครเป็นเจ้าของสินค้า
- ต้องมีการชำระเงิน
- การส่งเสริมเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์: เพื่อให้ลูกค้ารับข่าวสาร และพอใจ

(IMC) การประชาสัมพันธ์ : Public relations

การประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ คือ เครื่องมือการสื่อสารการตลาด ที่มุ่งสร้างภาพพจน์และทัศนคติที่ดีขององค์กรผลิตภัณฑ์ และตรายี่ห้อต่อผู้บริโภค สื่อมวลขน สาธารณชน พนักงานในองค์กร ผู้ถือหุ้นหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มมวลชนอื่น ๆ

วัตถุประสงค์
1.สร้างภาพพจน์ที่ดี ทั้งต่อองค์กร ตรายี่ห้อ และสินค้า
2.ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
3.สร้างความน่าเชื่อถือ

ประเภทของการประชาสัมพันธ์
  1.การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (Proactive PR)  เป็นการมุ่งสร้างโอกาสทางการตลาดมากกว่าคอยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวในภาวะการแข่งขันทางการตลาดอย่างรุนแรง การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุกมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะมุ่งวัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นสำคัญ

วันจันทร์

(IMC) Exhibitions การจัดนิทรรศการ

นิทรรศการ (Exhibitions) "นิทรรศการ" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Exhibitions" มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "Display" ซึ่งแปลว่า "การจัดแสดง" ความหมายของนิทรรศการ มีนักเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของนิทรรศการ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ความคิด เร้าให้เกิดความสนใจในเนื้อหา ซึ่งเสนอและกระตุ้นให้มีการกระทำบางอย่าง เนื้อหา ที่ง่ายและ ชัดเจน จะเป็นการเพิ่มโอกาสแก่ผู้ดูให้สามารถรับและมีความเข้าใจเนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้นการวางแผนการถ่ายทอดความรู้

นิทรรศการประเภทต่าง ๆ 
นิทรรศการเป็นการแสดงการให้การศึกษาอย่างหนึ่ง ด้วยการแสดงงานให้ชม เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีบทบาทมากขึ้นทุกขณะ ทั้งทางด้าน การศึกษา ธุรกิจ สังคม การเมือง แพทย์ และทางด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนั้นเพื่อให้ผู้สนใจ สถาบัน องค์การ หรือหน่วยงานเลือก จัดนิทรรศการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จึงควรทราบถึงนิทรรศการประเภทต่าง ๆ


นิทรรศการแบ่งตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท

1.นิทรรศการถาวร (Permanent Exhibition) หมายถึง นิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องราวเดิม ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นที่รวบรวมสิ่งแสดง ของที่ใช้จัดอาจจะเป็นของจริง หุ่นจำลอง รูปภาพ ฯลฯ ที่นำมาแสดงนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบ และวิธีการ จัดอยู่ในอาคารหรือสถานที่เดิม ไม่เปลี่ยนแปลง เปิดโอกาส ให้ผู้ชมเข้ามาชมได้ตลอดเวลา ส่วนใหญ่ที่รู้จักกันดีก็คือ พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ

2.นิทรรศการชั่วคราว เป็นการจัดนิทรรศการเป็นครั้งคราวในวาระโอกาสหรือเทศกาลพิเศษเพื่อแสดงความรู้ใหม่ ๆ แผนงานพิเศษ วาระในวันสำคัญของชาติหรือหน่วยงาน หรือเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์กรณีพิเศษ นิทรรศการชั่วคราวอาจจัดแสดง ในสถานที่เดิม เป็นประจำแต่สื่อที่นำมาแสดงชุดนั้น ๆ จัดอยู่ไม่นานนัก อาจเป็นสัปดาห์หรือสองสามเดือนก็เปลี่ยนใหม่ หรือเลิกไป

3.นิทรรศการเคลื่อนที่ หมายถึง นิทรรศการที่จัดขึ้นเป็นชุดสำเร็จ เพื่อแสดงในหลาย ๆ ที่ หมุนเวียนกันไป รูปแบบและสื่อหลักที่นำมาแสดง เป็นแบบเดิม วัตถุประสงค์ในการจัดเป็นแบบเดิมอาจมีสิ่งของหรือการแสดง ประกอบเพิ่มเติม ในบางครั้งนั้น ส่วนสถานที่จัดก็หมุนเวียน เปลี่ยนไปเรื่อย อาจเคลื่อนที่ไปต่างจังหวัดหรือจังหวัดเดียวกันแต่เปลี่ยนชุมชนที่นำไปแสดง เช่น นิทรรศการศิลปะ นิทรรศการตราไปรษณียากร

ประเภทของนิทรรศการแบ่งตามลักษณะของสถานที่จัด มี 3 ประเภท

1.นิทรรศการกลางแจ้ง อาจจะจัดแบบนิทรรศการถาวร นิทรรศการชั่วคราวหรือนิทรรศการเคลื่อนที่ก็ได้ เพียงแต่ สถานที่จัดเป็นการจัดนอกอาคาร และอาจจัดในสนามโดยใช้เต็นท์นิทรรศการประเภทนี้ มีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับรูปแบบ ลักษณะวิธีจัดด้วย และมีขอบเขตการแสดงกว้างขวาง นิทรรศการกลางแจ้งแบบถาวร

2.นิทรรศการในร่ม คือ นิทรรศการที่จัดในบริเวณอาคาร หรือจัดสร้างอาคารเพื่อแสดงนิทรรศการ โดยเฉพาะนิทรรศการแบบนี้ อาจจัดโดยวิธีแบบถาวร แบบชั่วคราว หรือแบบเคลื่อนที่ก็ได้ นิทรรศการในร่มแบบถาวร เช่น ในอาคารของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานาคร หรือพิพิธภัณฑ์จังหวัด นิทรรศการในร่มแบบชั่วคราว จัดขึ้นโดยมีระยะเวลาแสดงแน่นอน มีจุดมุ่งหมาย แคบลงแต่เด่นชัด

3.นิทรรศการลอยฟ้า เป็นนิทรรศการที่จัดกลางอากาศ เป็นการแสดงสิ่งประดิษฐ์ เพื่อการค้าหรือประกอบการพาณิชย์ เช่น นิทรรศการบอลลูนนานาชาติ การแสดงบอลลูนแบบแปลก ๆ เป็นต้น

ประเภทของนิทรรศการแบ่งตามจุดประสงค์การจัด มี 6 ประเภท คือ 
1. นิทรรศการทางการศึกษา
2. นิทรรศการทางการตลาด
3. นิทรรศการทางการเมือง
4. นิทรรศการศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
5. นิทรรศการทางการทหาร
6. นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร


ขั้นตอนและการดำเนินงานจัดนิทรรศการ
ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน  ขั้นวางแผนเป็นขั้นของการคิด ในการที่จะดำเนินการจัดนิทรรศการทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การหาชื่อเรื่อง ของนิทรรศการ การตั้งจุดมุ่งหมาย งบประมาณ สถานที่ ไปจนถึงขั้นสุดท้ายของการจัดนิทรรศการ คือ การสรุปผล ซึ่งใน ขั้นของการวางแผนอาจจะเขียนในรูปของ โครงการจัดนิทรรศการก็ได้

ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมการและออกแบบ เมื่อได้กำหนดโครงการการจัดนิทรรศการเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นการเตรียมการและออกแบบ ในการเตรียมการนั้น ก็เตรียมการตั้งแต่เนื้อหา รวบรวมวัตถุสิ่งของหรือเอกสารต่าง ๆ ที่จะนำออกแสดง จัดแบ่งประเภท หมวดหมู่ และความสำคัญตามลำดับ แล้วจัดทำชื่อทะเบียนประจำวัตถุ คำบรรยายของสิ่งต่าง ๆ

ขั้นที่ 3 ขั้นการจัดทำ เมื่อได้เตรียมการและออกแบบแล้ว ก็ถึงขั้นลงมือจัดทำ ในขั้นนี้ต้องใช้บุคคลฝ่ายต่าง ๆ มากมาย เช่น นักวิชาการ ช่างเทคนิคและช่างศิลป์ มาร่วมมือกันปฏิบัติงาน ตามลักษณะงานที่ตนเองถนัดและชำนาญ โดยเริ่มตั้งแต่ การจัดทำแผง การทำฐานตั้ง การทำตู้กระจก การเขียนตัวอักษร การจัดไฟ การประดับตกแต่งห้อง การจัดวางหรือ ติดตั้ง แขวนวัตถุสิ่งของที่จะจัดแสดง

ขั้นที่ 4 ขั้นการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณา เพื่อเชิญชวนหรือชักจูงหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน เพื่อให้ทราบ ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับงานนิทรรศการ เช่น งานนิทรรศการจัดระหว่างวันที่ เดือน ปีอะไร ภายในงานมีการจัดแสดงอะไรไว้บ้าง รายการใดที่มีความสำคัญ หรือมีคุณค่ามาก เก็บเงินค่าผ่านประตูหรือไม่ เป็นต้น

ขั้นที่ 5 ขั้นการนำเสนอ การนำเสนอคือการให้ประชาชนเข้าชมและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้จัดนิทรรศการจัดทำขึ้น ซึ่งในขั้นของการนำเสนอนี้ มีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ คือ พิธีเปิดนิทรรศการ การสาธิต การจัดกิจกรรมต่าง ๆ

ขั้นที่ 6 ขั้นการประเมินผล ในการจัดนิทรรศการนั้น ควรมีการประเมินผลไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่านิทรรศการที่จัดขึ้นนั้น บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มีข้อดีและข้อควรปรับปรุงอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อจะได้นำไปใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณา ปรับปรุงแก้ไขการจัดนิทรรศการครั้งต่อไป

ขั้นที่ 7 ขั้นการสรุปผล หลังจากจัดนิทรรศการผ่านพ้นไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ควรมีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่ร่วมจัดนิทรรศการเพื่อทำการประเมินผล ผลการจัดนิทรรศการในส่วนที่คณะกรรมการชุดนั้น ๆ รับผิดชอบ ว่าผลการจัด นิทรรศการนั้นเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรค ข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง


ข้อดีของการจัดนิทรรศการ
1. เป็นการให้การศึกษาอย่างหนึ่งแก่ผู้ชม โดยไม่ต้องมีครูมาบรรยายให้ฟัง
2. ทำให้การเรียนการสอนมีคุณค่าขึ้น เพราะการจัดนิทรรศการขึ้นเพื่อแสดงเนื้อหาของ บทเรียนต่าง ๆ ที่ครูสอน
3. ยั่วยุให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการเรียน (MOTIVATION) เพราะเป็นการเร้าใจให้เด็กเกิดการอยากเรียน และมีความสนใจเข้าใจ ในเนื้อหา ของวิชาที่สอน
4. ทำให้เด็กนักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เพราะเป็นการให้เนื้อหาวิชาที่เรียนทั้งทางตา ทางหู และการสัมผัส
5. สร้างเสริมความรับผิดชอบของกลุ่ม ของแต่ละบุคคล เพราะการให้เด็กได้จัดนิทรรศการเป็นการส่งเสริมให้เด็ก มีโอกาส ทำงานร่วมกับผู้อื่น

ข้อเสียของการจัดนิทรรศการ
1. มีเวลาจัดเตรียมไม่เพียงพอ
2. ผู้ออกแบบไม่มีความรู้ ไม่ทราบจุดมุ่งหมายของการแสดง
3. ผู้ออกแบบ (DESIGNER) สถาปนิก (ARCHITECT) และผู้ออกแบบโฆษณา(GRAPHIC ARTIST) และเจ้าของร้าน ไม่ประสาน งานกัน คือผู้ออกแบบไม่ทราบวัตถุประสงค์ของเจ้าของ เจ้าของไม่ทราบแนวความคิดของผู้ออกแบบ จึงทำให้เสียผล ประโยชน์ อย่างมาก
4. ความบกพร่องทางเทคนิค เช่น คำอธิบาย ไม่ชัดเจน แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือใช้ไฟเน้นผิดตำแหน่งที่ควรจะเน้น เป็นต้น

(IMC) การจัดศูนย์สาธิตการทำงานของสินค้า

การจัดศูนย์สาธิต หมายถึง วิธีการที่วิทยากรแสดงหรือทดลอง และอธิบายไปพร้อมๆ กัน ผู้เรียนเป็นผู้ดู ผู้ฟัง พร้อมทั้งจดบันทึกตามที่วิทยากรแสดงทดลองหรืออธิบาย วิธีการสาธิตเป็นการแสดงหรือกระทำ เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นและได้เข้าใจอย่างชัดเจน อาจเป็นการแสดงโดยใช้อุปกรณ์เครื่องมือ


วิธีการสาธิตอาจทำได้หลายวิธี   ดังนี้ 
1. วิทยากรเป็นผู้สาธิต
2. วิทยากรและผู้เรียนร่วมกันสาธิต โดยมีผู้เรียนเป็นผู้ช่วย
3. ผู้เรียนทั้งกลุ่มเป็นผู้สาธิต
4. ผู้เรียนคนเดียวเป็นผู้สาธิต
5. วิทยากรภายนอกเป็นผู้สาธิต

การสอนแบบสาธิต มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้ 
วิทยากร
1.บอกวัตถุประสงค์ของการสาธิต
2. สาธิตการปฏิบัติที่ถูกต้อง
3. แนะให้คิด ตามลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ
4. จัดให้มีการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
5. ให้ข้อติชมที่เหมาะสม
6. เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีการประเมินผล การปฏิบัติด้วยตนเอง

ผู้เรียน
1. รับทราบวัตถุประสงค์
2. สังเกตการปฏิบัติ
3. ติดตามลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
4. ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
5. แก้ไขข้อผิดพลาดและทำซ้ำใหม่
6. ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง


ข้อควรคำนึงในการสอนแบบสาธิต การทำงาน
- วิทยากรต้องมีความพร้อม เช่น มีความรู้ในเรื่องที่สาธิตและการอธิบายต้องผสมกลมกลืนกัน มีอุปกรณ์ครบถ้วนและพร้อมที่จะปฏิบัติ
- วิทยากรต้องมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือเป็นอย่างดี
- วิทยากรต้องจัดเครื่องมือ หรือวัสดุต่างๆ ไว้ให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ และควรทดสอบดูว่าเครื่องมือหรือวัสดุต่างๆ เหล่านั้นอยู่ในสภาพที่ใช้ได้
- ควรระวังอย่าใช้เวลาในการสาธิตมาก จนผู้เรียนไม่มีเวลาปฏิบัติ
- การสาธิตในวิชาที่ให้เกิดแนวคิด หรือความคิดริเริ่ม เช่น การพูด การเขียน การขับร้อง ฯลฯ ควรสาธิตเฉพาะเทคนิคการปฏิบัติ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยควรให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ข้อดี ของการสาธิตการทำงานของสินค้า
1) ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
2) ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและจดจำเรื่องที่สาธิตได้นาน
3) ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
4) ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา
5) ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์

ข้อจำกัด ของการสาธิตการทำงานของสินค้า
1) หากผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไปก็อาจทำให้การสังเกตไม่ทั่วถึง
2) ถ้าผู้เรียนเตรียมการมาไม่ดีเมื่อเวลาสาธิตวนไปวนมาหรือสาธิตไม่ชัดเจนก็ทำให้ได้ผลไม่ดี
3) ถ้าการสาธิตนั้นเน้นที่ผู้สอนโดยผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติเลย ผู้เรียนก็อาจจะได้ประสบการณ์น้อย
4) บางครั้งการสาธิตที่เยิ่นเย้อก็ทำให้เสียเวลา

วันอาทิตย์

(IMC) Sport Marketing : การสื่อสารการตลาดเฉพาะเจาะจงด้านกีฬา

ความหมายของ Sport Marketing
Sports  Marketing  หมายถึง  การประยุกต์ใช้หลักการทางการตลาดและกระบวนการทางการตลาดที่เฉพาะเจาะจงสำหรับทางการกีฬา  และที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกีฬาทั้งหมด

Sport Marketing สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ

1.การทำเป็น Event Marketing
เป็นประเภทการทำ Sport Marketing รูปแบบหนึ่ง ซึ่งเจ้าของสินค้าเป็นผู้จัดการแข่งขันกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นมาเอง เช่น อีซูซุมีการจัดการแข่งขันชกมวย



2. การทำSponsorship Marketing
เป็นประเภทการสนับสนุนทางการตลาดที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุด โดยตราสินค้าทำการสนับสนุนงบประมาณในการแข่งขันกีฬา ซึ่งอาจเป็นทั้งทีม เฉพาะนักกีฬาคนใดคนหนึ่ง หรือการให้อุปกรณ์กีฬา ชุดกีฬา เช่น เป๊ปซี่ร่วมกับสโมสรแมนยูไนเต็ด สอนเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆ ของการเล่นฟุตบอลในโครงการ ซอคเกอร์สคูล


สาเหตุที่กลยุทธ์นี้เป็นที่สนใจของนักกลยุทธ์IMC
1.กลุ่มเป้าหมายของสินค้าจำนวนมากให้ความสำคัญ และมีความชื่นชอบกีฬามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก
3.การแข่งขันกีฬาช่วยกำหนดประเมินการแบ่งส่วนตลาดและบอกถึงคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาแต่ละประเภทของสินค้าได้เป็นอย่างดี
4.สามารถทำให้ตราสินค้ามีโอกาสประชาสัมพันธ์โดยสื่อมวลชนที่ทำข่าวการแข่งขันกีฬานั้นๆ
5.โอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะเห็นตราสินค้ามีมากเนื่องจากแต่ละครั้งของการแข่งขันในกีฬาแต่ละประเภทมักมีช่วงการแข่งขันที่ยาวนาน

ประโยชน์ของการทำ Sport Marketing
1.สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมาย
2.ช่วยขจัดปัญหาด้านภาษา และข้อจำกัดด้านวัฒนธรรม
3.สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและหลากหลาย

ข้อจำกัดของการทำ Sport Marketing
1.เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ชอบกิจกรรมด้านกีฬาได้ยาก
2.ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับตราสินค้าในแง่ลบ
3.มีปัญหาในการประเมินผล

วันเสาร์

การเป็นผู้สนับสนุนด้านอื่นๆ : Others Sponsorship Marketing

การเป็นผู้สนับสนุนด้านอื่นๆ (Others Sponsorship Marketing) ซึ่งมีหลายรูปแบบด้วยกัน แต่จะกล่าวถึงเฉพาะที่สำคัญและเป็นที่รู้จักแพร่หลายเพียง 3 รูปแบบเท่านั้น คือ

1.การเป็นผู้สนับสนุนแบบเชื่อมโยงกับการกุศล (Cause-Related Sponsorship) เป็นรูปแบบของการเป็นผู้สนับสนุนที่เก่าแก่ที่สุด เพราะเป็นการบริจาคเพื่อการกุศลที่มีมานานแล้ว และในปัจจุบันก็ยังคงมีการเป็นผู้สนับสนุนในรูปแบบนี้อยู่ เพียงแต่ได้พัฒนาขึ้นโดยการผสมผสานกลยุทธ์ด้านการตลาดเข้าไปกับการบริจาคในครั้งนั้นๆ ด้วย การเป็นผู้สนับสนุนในรูปแบบเชื่อมโยงกับการกุศลนี้ สามารถสร้างความโดดเด่นให้กับตราสินค้าและองค์กรได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในลักษณะของการช่วยยับยั้งกระแสข่าวในเชิงลบ ดังนั้นการเป็นผู้สนับสนุนแบบนี้จึงสามารถผสมผสานกับการทำประชาสัมพันธ์องค์กรได้ เช่น กระดาษ “สก็อต“บริจาคเงินส่วนหนึ่งของการจำหน่ายกระดาษแต่ละแพ็กให้กับองค์กรการกุศล หรือเติมน้ำมัน “เชลล์“ ทุก 100 บาท จะหักเงิน 1 บาท เพื่อนำไปบริจาคให้กับโครงการอาหารกลางวันแก่เด็กผู้ยากไร้ เป็นต้น

2.การเป็นผู้สนับสนุนแบบแอบแฝง (Ambush Sponsorship) โดยเฉพาะในช่วงการแข่งขันกีฬาแมทช์ใหญ่ ๆ อย่าง ฟุตบอลโลก จะมีตราสินค้าหนึ่งเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีสินค้าคู่แข่งพยายามทำกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันดังกล่าว หรือถ้าทำได้ก็จะเข้าไปสนับสนุนโดยการซื้อสปอตโฆษณาในช่วงเวลาใกล้เคียงหรือช่วงเดียวกันกับการแข่งขัน เพื่อตั้งใจที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจผิดและเกิดความสับสนว่าตราสินค้าของตนก็ร่วมสนับสนุนการแข่งขันด้วยเช่นกัน ทั้งๆ ที่ไม่ได้เสียเงินสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวแต่อย่างใด

3.การเป็นผู้สนับสนุนแบบมัสช์ (Mush Sponsorship) คำว่า “MUSH“ ย่อมาจาก Municipal, University, Social และ Hospital มีความหมายใกล้เคียงกับการเป็นผู้สนับสนุนแบบเชื่อมโยงการกุศล เพียงแต่เน้นที่การสนับสนุนสำหรับภาครัฐ มหาวิทยาลัย สังคม และ โรงพยาบาลเท่านั้น

การเป็นผู้สนับสนุนด้านงานศิลปะ : Arts Sponsorship Marketing

การเป็นผู้สนับสนุนด้านงานศิลปะ (Arts Sponsorship Marketing) การเป็น ผู้สนับสนุนด้านนี้มีส่วนคล้ายกับการเป็นผู้สนับสนุนด้านวัฒนธรรมนั่นเอง เพียงแต่ตราสินค้าที่เป็นผู้สนับสนุนจะเลือกให้ความ สำคัญและสนใจไปที่กิจกรรมทางด้านงานศิลปะ นิทรรศการงานศิลป์หรือเต้นรำ เช่น น้ำอัดลม “มิรินด้า“เป็นผู้สนับสนุนเด็ก อายุ 8-15 ปี ที่มีความสนใจวาดรูป ส่งผลงานเข้าประกวดในโครงการ ศิลปินมิรินด้า ชิงถ้วยพระราชทานของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือเครื่องสำอางสำหรับสาววัยรุ่นอย่าง “12 พลัส“ สนับสนุนโปรแกรม “BBGG Contest“ เพื่อหา Boy Band and Girl Gang เป็นต้น

การเป็นผู้สนับสนุนด้านการศึกษา Educational Sponsor ship Marketing

การเป็นผู้สนับสนุนด้านการศึกษา (Educational Sponsor ship Marketing) เป็นการสนับสนุนทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและหลักสูตรเสริมความรู้ต่างๆ เช่น “UBC“ สนับสนุนโครงการประกวดความสามารถของนักศึกษาที่เรียนด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ให้มีโอกาสไปดูงานและฝึกงานที่สำนักข่าวชื่อดังในต่างประเทศ


การเป็นผู้สนับสนุนด้านบันเทิง : Entertainment Sponsorship Marketing

การเป็นผู้สนับสนุนด้านบันเทิง (Entertainment Sponsorship Marketing) สินค้าน้ำอัดลมอย่าง “โคคา-โคลา“ เป็นผู้สนับสนุนหลัก (Main Sponsor) ของภาพยนตร์เรื่อง“แฮร์รี่ พอตเตอร์“นอกจากนี้ยังร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางกะปิ จัดงาน “Coca-Cola Live the Magic“ เพื่อสนองเจตนารมณ์ของ เจเคย์ โรลลิ่งค์ ผู้แต่งหนังสือเรื่องดังกล่าวที่ต้องการให้เด็กๆ รักการอ่านหนังสือมากขึ้น


การเป็นผู้สนับสนุนในโปรแกรมและสื่อกระจายเสียงทั้งวิทยุและโทรทัศน์ : Program and Broadcast Sponsorship Marketing

การเป็นผู้สนับสนุนในโปรแกรมและสื่อกระจายเสียงทั้งวิทยุและโทรทัศน์ (Program and Broadcast Sponsorship Marketing) หลายตราสินค้าใช้งบประมาณกับการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการตลาดด้านนี้ด้วยเงินจำนวนมาก เนื่องจากเหตุผลที่สำคัญคือ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารตราสินค้าสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย เจ้าของรายการ และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ในเวลาเดียวกัน เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา “ไวไว“ เป็นผู้สนับสนุนช่วงครอบจักรวาลคิท เช่น ชวนชิมในรายการครอบจักรวาลคิทเช่นโชว์ ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เป็นต้น


วันศุกร์

Cultural Sponsorship Marketing : การเป็นผู้สนับสนุนด้านวัฒนธรรม

การเป็นผู้สนับสนุนด้านวัฒนธรรม (Cultural Sponsorship Marketing) เช่น เบียร์สิงห์เน้นความเป็นเบียร์ไทย ก็จะให้การสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมไทยเพื่อเป็นการตอกย้ำจุดยืนของสินค้า


เบียร์สิงห์ เบียร์ไทยชั้นนำและผู้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ได้นำคณะนักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์แถวหน้าของไทย บินลัดฟ้าไปยังกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมในงานเปิดตัวเทศกาลหนังไทย “Thai Cinema ☆ Paradise” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ณ ซินีมาร์ท รปปงงิ ซึ่งเป็นย่านที่รวบรวมเอาสีสันและแฟชั่นของความเป็นโตเกียวไว้ได้อย่างครบครัน

Sport Sponsorship Marketing : การเป็นผู้สนับสนุนด้านกีฬา

การเป็นผู้สนับสนุนด้านกีฬา (Sport Sponsorship Marketing) เป็นประเภทการสนับสนุนทางการตลาดที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุด โดยตราสินค้าทำการสนับสนุนงบประมาณในการแข่งขันกีฬา ซึ่งอาจเป็นทั้งทีม เฉพาะนักกีฬาคนใดคนหนึ่ง หรือการให้อุปกรณ์กีฬา ชุดกีฬา เช่น “โกดัก ไอบีเอ็ม แมคโดนัลด์ และพานาโซนิค“ ทำการสนับสนุนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งที่ผ่านมา หรือ “ไฮเนเก้น“ เป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันรักบี้เวิลด์คลับ และสินค้าน้ำอัดลมตรา “เป๊ปซี่“ ร่วมกับสโมสรแมนยูไนเต็ด สอนเคล็ดลับและเทคนิคพิเศษต่างๆ ของการเล่นฟุตบอลในโครงการ “ซอคเก้อร์สคูล“ ผ่านรายการกีฬาทางสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น

ไฮเนเก้น แบรนด์พรีเมี่ยมชั้นนำของโลก ผู้สนับสนุนระดับโลกของ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก เปิดตัว สเตเดี้ยม ออฟ ดรีมส์ สนามกีฬาจำลอง ที่สร้างจากกระป๋องอลูมิเนียมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ณ บริเวณลานหน้าศูนย์การค้า เซ็นทรัล เวิลด์ เพื่ออุ่นเครื่องเรียกน้ำย่อยแฟนบอล ก่อนนัดชิงชนะเลิศที่กรุงโรม ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 ซึ่งคาดว่าจะเป็นการฟาดแข้งที่ตื่นเต้นเร้าใจอย่างยิ่ง จากการโคจรมาพบกันของทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด กับ บาร์เซโลนา แมตช์ในฝันที่คอบอลรอคอย



ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเป็นผู้สนับสนุนด้านกีฬา ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักกลยุทธ์ไอเอ็มซี เพราะสาเหตุดังต่อไปนี้

1.กลุ่มเป้าหมายของสินค้าจำนวนมากให้ความสำคัญและมีความชื่นชอบกีฬามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสังเกตจากกระแสความนิยมด้านกีฬาในปัจจุบัน

2.กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก

3.ไม่เพียงแต่กลุ่มเป้าหมายเท่านั้นที่สนใจกีฬา สื่อมวลชนเองก็สนใจกีฬาด้วย ทำให้ตราสินค้ามีโอกาสประชาสัมพันธ์โดยสื่อมวลชนที่ทำข่าวการแข่งขันกีฬานั้นๆ

4.การแข่งขันกีฬา ช่วยกำหนดและประเมินการแบ่งส่วนตลาด (Marketing Segmentation) และบอกถึงคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาแต่ละประเภทของสินค้าได้เป็นอย่างดี เช่น กอล์ฟ ว่ายน้ำ ยิมนาสติก เทนนิส หรือฟุตบอล ต่างก็มีกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน

5.โอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะเห็นตรา สินค้ามีมาก เนื่องจากในแต่ละครั้งของการแข่งขันในกีฬาแต่ละประเภท มักมีช่วงของการแข่งขันที่ยาวนาน โดยเฉพาะกีฬาโอลิมปิกหรือฟุตบอลโลก



วันพฤหัสบดี

(IMC) Franchise : แฟรนไชส์

แฟรนไชส์ (Franchise) คือ สิทธิพิเศษที่บริษัทแม่มอบให้กับ ผู้ที่เข้าร่วมกิจการโดยสิทธิพิเศษนี้ จะครอบคลุมระบบเกือบ ทั้งหมดเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจการนั้นสามารถทำธุรกิจได้แม้จะไม่มีประสบการณ์มาเลย แฟรนไชส์จึงหมายถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจหรือตลาดในการกระจายสินค้า หรือบริการสู่ผู้บริโภคโดยหน่วยธุรกิจซึ่ง ประสบความสำเร็จและต้องการขยายการจำหน่ายสินค้า หรือบริการของตน (บริษัทแม่) โดยผ่านหน่วยค้าปลีก (บริษัทสมาชิก) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอิสระ และทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงร่วมกัน ภายใต้เครื่องหมายการค้าหรือบริการ เทคนิคการตลาดและอำนาจของบริษัทแม่ ในการควบคุมหน่วยธุรกิจนั้นเพื่อแลก กับการได้รับชำระค่าธรรมเนียม และค่ารอยัลตี้ (กำไรบางส่วน) จากบริษัทสมาชิก ดังกล่าวโดยกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการทำข้อตกลงทางกฎหมายระหว่างกลุ่มบุคคล 2 กลุ่ม คือ

              แฟรนไชส์ซอร์ ( Franchisor ) คือ กลุ่มบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของตราสินค้าหรือบริการหรือเครื่องหมายการค้า และได้พัฒนาวิธีการอันได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในการประกอบการและการจัดการธุรกิจที่สามารถทำเลียนแบบ และดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่สามได้

               คุณสมบัติที่ดีของแฟรนไชส์ซอร์ ในแง่ธุรกิจจะต้องมี Business Concept ที่ดีมีแนวคิดในการดำเนินธุรกิจและมีระบบการบริหารการจัดการที่ดีพอสำหรับรองรับการขยายการเติบโตในอนาคต และที่สำคัญที่สุด ธุรกิจจะต้องประสบความสำเร็จมีผลประกอบการที่มีกำไรคุ้มค่ากับการลงทุน และในแง่ของบุคคลคือตัวผู้บริหารเจ้าของแฟรนไชส์ซอร์ จะต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่มีความยืดหยุ่นสูง มีความประนีประนอมและมีความอดทนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อันที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกัน
              นอกจากนั้นผู้บริหารยังจำเป็นจะต้องเป็นนักขายที่เก่งและเป็นนักบริหารจัดการที่ดีที่เก่งทั้งการบริหารงานและบริหารคนอีกด้วย

              แฟรนไชส์ซี ( Franchisee ) คือ กลุ่มบุคคลซึ่งได้รับสิทธิบัตรในการจำหน่ายและการดำเนินธุรกิจ โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวใช้รูปแบบและตราสินค้าหรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าอันมีแฟรนไชส์ซอร์ ( Franchisor) เป็นเจ้าของอยู่ แฟรนไชส์ที่ร่วมกิจการไม่ได้อยู่ในฐานะของพนักงานหรือลูกจ้าง ตรงข้ามเขาเป็นเจ้าของกิจการ ทำให้การสร้างความรู้สึกในความเป็นเจ้าของกิจการให้แก่พนักงานระดับต่างๆเกิดขึ้นได้ในทันทีในระบบแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซีซึ่งเป็นเจ้าของกิจการที่ทำหน้าที่บริหารงานสาขา มีความรับผิดชอบมากกว่าพนักงานโดยปกติ เป็นผลให้การดูแลติดตามและควบคุมได้ดีกว่า

รูปแบบและปัจจัยของแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ
1.มีผู้ซื้อและขายแฟรนไชส์ เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย ก็คือ แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ซึ่งมี การตกลงร่วมในการทำธุรกิจร่วมกัน ทั้งมีสัญญาและไม่มีสัญญา แต่ในอนาคตรูปแบบข้อตกลงจะปรับรูปแบบสู่ระบบการสร้างสัญญาทั้งหมด เพื่อให้ทั้งระบบแฟรนไชส์ในตลาดจะต้องถูกระบบ เพราะไม่เช่นนั้นแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ดีจะทำลายระบบด้วย

2.เครื่องหมายการค้า หรือ บริการ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบระบบธุรกิจ และใช้เครื่องหมาย การค้าเดียวกัน ระบบการจัดการธุรกิจอาจจะเป็นเครื่องมือ หรือคิดสูตรขึ้นมาเอง ในการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยมีมาตรฐานที่อยู่ในตราสินค้า Brand เดียวกัน

3.มีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 อย่างคือ ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า (Franchise Fee) และค่าตอบแทนผลการดำเนินการ ( Royalty Fee ) การทำระบบธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ สามารถสร้างระบบการจัดจำหน่ายได้ยืนยาว ในรูปแบบธุรกิจจะสร้างองค์กรการบริหารงานซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจที่ดำเนินการเห็นชัดเจน

ข้อดี-ข้อเสีย
ข้อดีอยู่หลายอย่าง เช่น สามารถขยายได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายในการควบคุมดูแลใช้เงินลงทุนต่ำ ได้รับรายได้เป็นเงินสดก่อนจากค่า Franchise Fee มีรายได้สม่ำเสมอจาก Royalty Fee แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย

ข้อเสียของการขยายธุรกิจโดยใช้แฟรนไชส์ เช่น ไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้อย่างทั่วถึง

ขายแฟรนไชส์นั้นมีอยู่สองรูปแบบใหญ่ๆ ด้วยกันก็คือ 

1.Master Franchise / Area Development การขยายโดยใช้ Master Franchise คือ การขายสิทธิ์ แฟรนไชส์ให้เป็นพื้นที่ เช่น สิทธิ์ในประเทศ หรือสิทธิ์ในภูมิภาค โดยผู้ได้รับสิทธิ์ สามารถขายแฟรนไชส์ต่อไปยัง Sub-Franchise ได้ และมีการแบ่งผลตอบแทนเป็นทอดๆ ไป เช่น
- กรณีของ COCA ขายแฟรนไชส์แบบ Master Franchise ให้กับนักลงทุนชาวสิงคโปร์ โดยนักลงทุนดังกล่าวสามารถขยายสาขาเพิ่มเติมเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ หรือขายต่อให้กับนักลงทุนรายอื่นก็ได้
- กรณีของ McDonalds ที่ขายแฟรนไชส์แบบ Master Franchise ให้กับนักลงทุนไทย แล้วนักลงทุนไทยก็ขยายสาขาเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังขายสิทธิ์แฟรนไชส์ต่อให้กับนักลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่

ข้อดีของการขายแฟรนไชส์แบบ Master Franchise คือ ขยายธุรกิจไปยังหลายๆ ตลาดได้ในเวลาที่รวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำ เพราะบริษัทไม่จำเป็นต้องไปตั้งสำนักงานอยู่ในพื้นที่นั้นๆ แต่จะให้ Master Franchise เป็นผู้ดูแลเอง บริษัทได้รายได้จากการขยายสาขาของ Master Franchise ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ Master Franchise ยังมีความรู้ในการทำการตลาดในท้องถิ่นดีกว่า และช่วยลดความเสี่ยงทางด้านกฎหมายด้วย ข้อเสียก็คือ การสูญเสียการควบคุม Sub-Franchise และปัญหาการขัดแย้งระหว่าง Master Franchise และ Sub-Franchise การยกเลิกสัญญาหากมีการผิดเงื่อนไขทำได้ยากกว่า นอกจากนี้หากตลาดดังกล่าวเล็กเกินไป การขาย Franchise แบบ Direct Franchise อาจดีกว่า

2.Direct Franchise การขยายแบบ Direct Franchise คือ การขายสิทธิ์แฟรนไชส์ตรงไปยังนักลงทุนแต่ละราย เช่น Black Canyon ขายแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุนสิงคโปร์ หนึ่งสาขา แล้วสามารถขายให้กับนักลงทุนสิงคโปร์กลุ่มอื่นๆ ได้อีก

ข้อดี คือ สามารถควบคุมได้อย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ทำให้มีมาตรฐานในการดำเนินงานมากกว่า แต่ก็มีข้อเสียคือทำให้ต้องมีการลงทุนในการดำเนินงานมากขึ้น และขยายตัวได้ช้ากว่า

ประเภทของแฟรนไชส์ Product or Brand Franchise เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายทางการค้าของผู้ผลิต Business Format Franchise เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตเพื่อขายสินค้าหรือบริการ โดยมีการถ่ายทอดในวิธีการดำเนินธุรกิจแบบร้านมาตรฐาน Conversion Franchise เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายทางการค้าของผู้ผลิต โดยผู้ผลิตได้เปลี่ยนธุรกิจที่มีอยู่เดิมแล้วให้เปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบใหม่

รูปแบบของการให้สิทธิแฟรนไชส์ ซึ่งอาจแบ่งรูปแบบได้ 3 แบบดังนี้

1.แฟรนไชส์แบบหน่วยเดียว หรือ แฟรนไชส์บุคคล ( Individual Franchise or Single Unit Franchise )
2. แฟรนไชส์แบบหลายหน่วย หรือ แฟรนไชส์แบบพัฒนาพื้นที่ ( Multiunit Franchise or Area Development Franchise )
3.แฟรนไชส์แบบ ( Subfranchise )

      รูปแบบการให้สิทธิทั้ง 3 แบบนี้ มีทั้งข้อดีข้อเสียอยู่ในตัวเองการตัดสินใจของท่านว่าจะใช้ในรูปแบบใด จึง ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและลักษณะธุรกิจของท่านเป็นเกณฑ์ แต่แฟรนไชส์ซอร์หลายท่านก็มีการใช้รูปแบบทั้ง 3 ผสมผสานกันในกลยุทธ์ของแฟรนไชส์ ตามเงื่อนไขของธุรกิจและการตลาด รวมถึงการแข่งขัน จากนี้มาดูกันว่ารูปแบบแต่ละประเภทเป็นอย่างไร ท่านควรเลือกรูปแบบใด

ข้อเสียเปรียบของการเข้าร่วมแฟรนไชส์ 
1.สูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ
2.ไม่มีหลักประกันความสำเร็จ
3.ค่าใช้จ่ายสูง

(IMC) Sponsorship Marketing : การสื่อสารตราสินค้าด้วยเครื่องมือการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด

การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรหรือ หน่วยงานทางธุรกิจที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แนวคิดการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย หรือวิธีการสื่อสารการตลาดรูปแบบต่างๆ เช่น การเป็น ผู้สนับสนุนทางการตลาด เป็นหนึ่งในเครื่องมือการสื่อสารการตลาดที่เข้ามาเสริมภาพลักษณ์ของสินค้า และสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายจดจำตราสินค้า และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์การสื่อสารที่กำหนดไว้

ความหมายของผู้สนันบสนุน

การเป็นผู้สนับสนุน (Sponsorship) 
การเป็นผู้สนับสนุน (Sponsorship) หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางธุรกิจระหว่างผู้ให้ความช่วยเหลือจากกองทุน แหล่งทรัพยากรหรือบริการ รวมไปถึงความสัมพันธ์ในลักษณะส่วนบุคคล ที่ให้การสนับสนุนแก่กิจกรรมหรือองค์กร โดยนัยแห่งการให้การสนับสนุนจะมีความหวังในผลแห่งการให้บางอย่างตามที่ต้องการและอาจจะมีความเกี่ยวโยงกับผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ (Sleight, 1989)

ผู้สนับสนุนทางการตลาด (Sponsorship Marketing) 
การเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด (Sponsorship Marketing) คือ การลงทุนของบริษัทในลักษณะของการให้ทั้งที่เป็นตัวเงินและหรือไม่เป็นตัวเงิน โดยหวังประโยชน์ทางธุรกิจ อีกทั้งการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาดจะถูกใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเพิ่มยอดขาย การเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพิ่มความจงรักภักดีแก่คนในองค์กร การสร้างภาพพจน์และอิทธิพลให้กับตราสินค้า

การเป็นสนับสนุนเชิงพาณิชย์ (Commercial Sponsorship)
การเป็นผู้สนับสนุนเชิงพาณิชย์ (Commercial Sponsorship) หมายถึง การลงทุนด้วยเงินสดหรือทรัพย์สิ่งของอย่างอื่น ไปเพื่อกิจกรรมหนึ่ง โดยหวังผลทางการค้า ทั้งนี้การเป็นผู้สนับสนุนจะมีความเชื่องโยงสัมพันธ์กันกับกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย (Meenaghan,1991)

ปัจจัยทำให้กิจกรรมการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาดได้รับความนิยมและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องมีดังนี้

- ข้อจำกัดด้านจำนวนเงินในการทำการสื่อสารการตลาดด้วยเครื่องมือการโฆษณาต้องใช้เงินจำนวนมาก

- พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ไม่ชอบดูหนังโฆษณาในวิทยุโทรทัศน์ กล่าวคือ เมื่อมีหนังโฆษณาขั้นรายการผู้บริโภคจะไม่ดูหนังโฆษณาโดยจะเปลี่ยนไปดูรายการอื่น ๆแทน

- ช่วยสร้างคุณค่าให้กับตราสินค้า(Brand Equity)

- เป็นเครื่องมือที่สามารถสื่อสารการตลาดและสื่อสารตราสินค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะเจาะจงตามลักษณะประชากรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย

- ช่วยให้บริษัทได้รับการยอมรับจากหน่วยงานท้องถิ่น และรวมถึงบรรดาผู้ถือหุ้น พนักงานในบริษัท และสังคม

วัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรมการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรนั้น ๆ ว่ามีวัตถุประสงค์ไปในด้านใด ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

- เพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ในชื่อและตราสินค้า

- เพื่อการใช้สื่อได้อย่างเปิดเผย โดยปราศจากข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น กฎหมาย เป็นต้น

- เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตราสินค้า ผลิตภัณฑ์ และองค์กร

- เพื่อแสดงออกถึงความมีเมตตา เผื่อแผ่ ที่มีต่อบุคคล กลุ่มคน ชุมชน องค์กร

- เพื่อพัฒนาและดำรงรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ผู้จัดจำหน่าย พนักงานงานและผู้ถือหุ้นของบริษัท

- เพื่อเพิ่มยอดขายและเป็นโอกาสในการเปิดตลาดที่ถูกปิดไปในอดีต

- เพื่อใช้เป็นทางออกสำหรับการทำโฆษณาสินค้าต้องห้าม เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ เป็นต้น

- เพื่อส่งเสริมการขาย (อาทิเช่น การเป็นสินค้าตัวอย่างพ่วงติดกับสินค้าหลักอื่น ๆ )

หลักในพิจาณาการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด (Sponsorship Marketing Issues)

- ต้องสามารถกำหนดและระบุถึงวัตถุประสงค์และขอบเขตของกิจกรรมได้อย่างชัดเจน

- กิจกรรมที่จะทำการสนับสนุนนั้นจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันกับตำแหน่งของตราสินค้า(Brand Positioning)  ภาพลักษณ์ของตราสินค้า (Brand Image)หรือตำแหน่งขององค์กร (Corporate Positioning)

- ปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินกิจกรรมการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาดประสบความสำเร็จได้แก่อะไรบ้าง

- มีการจัดสรรงบประเมินในการทำกิจกรรมอย่างเพียงพอ

- ศึกษาถึงลักษณะของผู้สนับสนุนรายอื่นๆ ว่าเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่จะทำการสนับสนุนหรือไม่ หรือเข้ามาเกี่ยวข้องในลักษณะใด

- กิจกรรมที่จะดำเนินการจะต้องมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น  น่าสนใจ ในเชิงสร้างสรรค์ไม่ซ้ำหรือเลียนแบบผู้อื่น ๆ

- รูปแบบของกิจกรรมจะต้องเป็นสิ่งที่คู่แข่งขันคาดการณ์ไม่ถึง

- กิจกรรมที่กำหนดนั้นจะต้องสามารถสร้างคุณค่าเพิ่มหรือรื้อฟื้นคุณค่าเดิมให้กลับมามีคุณค่าได้

- กิจกรรมนั้นมีความสอดคล้องกับรูปแบบของกิจกรรมการสื่อสารการตลาดอื่น ๆ ด้วยหรือไม่

- ต้องสามารถระบุกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับสารได้อย่างชัดเจนสำหรับกิจกรรมนั้น ๆ ทั้งรูปแบบและระยะเวลาในการครอบคลุมของสื่อได้อย่างทั่วถึง

การเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภทดังนี้ (คลิกเลือกที่หัวข้อ)

1.การเป็นผู้สนับสนุนด้านกีฬา (Sport Sponsorship Marketing) 
2.การเป็นผู้สนับสนุนด้านวัฒนธรรม (Cultural Sponsorship Marketing) 
3.การเป็นผู้สนับสนุนในโปรแกรมและสื่อกระจายเสียงทั้งวิทยุและโทรทัศน์ (Program and Broadcast Sponsorship Marketing) 
4.การเป็นผู้สนับสนุนด้านบันเทิง (Entertainment Sponsorship Marketing) 
5.การเป็นผู้สนับสนุนด้านการศึกษา (Educational Sponsor ship Marketing)
6.การเป็นผู้สนับสนุนด้านงานศิลปะ (Arts Sponsorship Marketing) 
7.การเป็นผู้สนับสนุนด้านอื่นๆ (Others Sponsorship Marketing)



(IMC) Sensory Marketing : การจับพฤติกรรมของคนใส่สินค้า

Sensory Marketing  คือ การมุ่งทำความเข้าใจกระบวนการรับรู้ของผู้บริโภค ซึ่งเริ่มต้นจากการรับสัมผัส หมายถึง การมีสิ่งกระตุ้นมากระทบประสาทสัมผัสของผู้บริโภคของผู้บริโภค ไปจนถึงกระบวนการคิด ตีความ แปลความหมายของผู้บริโภค แล้วนำมาใช้ในการวางแผนการตลาดเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบการสื่อสาร

โดยผ่าน The 5 Senses
        การทำการตลาดส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับระบบการรับสัมผัสของผู้บริโภคเพียงสองส่วนคือการเห็นและการได้ยิน นักการตลาดจะสร้างประสบการณ์ในตราโดยมุ่งเน้นไปที่ประสาทตาและหูของผู้บริโภค ทั้งๆ ที่จริง แล้วจากผลการวิจัย ระบบการรับสัมผัสส่วนอื่นของผู้บริโภค ได้แก่ การได้กลิ่น และ ความรู้สึกจากผิวสัมผัส สามารถสร้างความประทับใจ ปฏิกิริยาตอบสนอง เรียกความทรงจำ ตลอดจนกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกได้ดีกว่าการเห็นและการได้ยิน

5 ประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้รับรสชาติ และ การสัมผัส  เช่น ในการซื้อสินค้าหนึ่งๆ ผู้บริโภคคาดหวังจะสัมผัสมันแล้วเป็นอย่างไร คาดหวังให้มันมีกลิ่นอย่างไร มีรูปร่างหน้าตาดีไซน์อย่างไร มีเสียงเป็นอย่างไร

การมองเห็น ( Sight or Vision)
จากผลสำรวจพบว่า 83% ของการรับรู้ของผู้บริโภคเกิดจากการมองเห็น การมองเห็นเป็นแนวทางในการสร้าง Brand Experience กับผู้บริโภค ที่ด้อยกว่าการให้ผู้บริโภคได้กลิ่น ได้ทดลองชิมและ ได้สัมผัส เช่น การมองเห็นสีร้อนมีผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นและความดันเลือดสูงขึ้น ในขณะที่การมองเห็นสีเย็นส่งผลในทางตรงกันข้าม สีส้มมีผลต่อการกระตุ้นความหิวของผู้บริโภค ส่วนสีฟ้าและสีเขียวช่วยในการลดความกังวล

เสียง ( Sound )
ผลวิจัยพบว่าการใช้เพลงที่เป็นที่นิยมในโฆษณามีผลด้านบวกต่อการจดจำโฆษณาได้ของผู้บริโภค และ ยังพบว่าเสียงเพลงมีผลต่อยอดขายในขณะที่เสียงรบกวนมีผลทางลบต่อยอดขายของร้านค้าปลีก เสียงเป็นอีกสิ่งเร้าหนึ่งที่กระตุ้นอารมณ์และความทรงจำได้ดี เช่น อาหารเช้าธัญพืชKellogg ที่มีLab เพื่อพัฒนาคุณภาพเสียงของผลิตภัณฑ์ (เสียงกรอบ เสียงเมื่อถูกเคี้ยว) รถยนต์ BMW ที่สร้างเสียงของเครื่องยนต์ให้ผู้ใช้เกิดการรับรู้ที่พึงพอใจในสมรรถนะเครื่องยนต์มากที่สุด โดยรวมก็คือเราใช้ “เสียง” เพื่อให้เป็น “Brand Message” ในการทำ Branding

กลิ่น ( Smell )
การได้กลิ่นเป็นการรับสัมผัสโดยตรงและกระตุ้นการทรงจำได้ดีที่สุด นักการตลาดใช้กลิ่นในการสร้างอารมณ์เพื่อให้มีผลด้านบวกต่อผลิตภัณฑ์ ลองพิจารณาถึงอารมณ์ความรู้สึกเมื่อได้กลิ่นน้ำหอม กลิ่นของสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นทะเลหรือภูเขา หรือ กลิ่นอาหาร กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของเราได้ดีเพียงใด เช่น สิ่งที่กระตุ้นให้ลูกค้าที่ผ่านไปมาเดินเข้าร้านกาแฟหรือเบเกอรี่ ก็คือ กลิ่นกาแฟและกลิ่นจากการอบขนมปัง โรลออนดับกลิ่นตัว ที่ต้องวางหรือแขวนสินค้าตัวอย่างไว้บน Shelf ให้ผู้บริโภคได้ดมกลิ่น เป็นต้น

การสัมผัส ( Touch )
การได้สัมผัสของผู้บริโภค เป็นการรับข้อมูลที่สำคัญของพวกเขา สินค้าที่ผู้บริโภคต้องการสัมผัสเมื่อเลือกซื้อได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มต่างๆ รวมทั้งกระดาษทิชชู สินค้าเหล่านี้ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพความอ่อนนุ่มเมื่อได้สัมผัส ตลอดจนการมีตัวอย่างที่ลูกค้าสามารถสัมผัสจับต้องเปรียบเทียบระหว่างตรายี่ห้อได้

รสชาติ ( Taste )
ความสำเร็จของผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มถูกกำหนดโดยรสชาติ ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากในเรื่องรสชาติก็คือ วัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการตีความเรื่องรสชาติของผู้บริโภค

ยกตัวอย่างเช่น สตาร์บัคส์ ร้านกาแฟ
ร้านกาแฟชื่อดัง "สตาร์บัคส์" ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะรสชาติกาแฟสไตล์อเมริกัน  กลิ่นอายหอมระมุนด้วยเมล็ดกาแฟพันธุ์ดี รวมไปถึงการตกแต่งร้านที่สวยหรู มีรสนิยม  พร้อมขับกล่อมด้วยเสียงเพลงเฉพาะของร้านสตาร์บัคส์ สร้างความรู้สึก 5 สัมผัสประสบการณ์กับกาแฟสตาร์บัคส์ที่ทำให้ลูกค้าหลงไหลได้อย่างลงตัวจนกลายเป็น Community ที่น่าเข้าไปสัมผัส สตาร์บัคส์ ใช้กลยุทธ์ Sensory Branding  ได้อย่างน่าทึ่ง !! เพราะสร้างประสบการณ์กับลูกค้าทั้ง 5 มิติได้อย่างลงตัว และดีเยี่ยม โดยรูปมาจากการเห็นได้ด้วยสายตา ทั้งโลโก้ร้าน แก้วกาแฟที่ต้องมีแบรนด์ติดไว้ด้วยเสมอ สีสันการตกแต่งร้าน เสียงเพลงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะสร้างบรรยากาศ โดยเพลงที่เปิดจะฟังสบาย และรสชาติกาแฟ เป็นอีกหนึ่ง 'สัมผัส' ที่เป็นอีกสิ่งที่สร้างความแตกต่างระหว่างแบรนด์  อีกทั้งยังมีกลิ่นอโรมา ที่ได้จากการบดกาแฟสดใหม่ทุกวัน ช่วยให้จุดขายเรื่อง 'กลิ่น'

การจับพฤติกรรมของคนใส่สินค้า คือ การนำเอาพฤติกรรม ความชอบ หรือไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค มาออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

ตัวอย่างเช่น LG จับพฤติกรรมผู้บริโภค
บริษัท แอลจี มิตร อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด เปิดเผยถึงการทำตลาดว่ามีการจับพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยด้วยการผลิตสินค้าที่มีฟังก์ชั่นใช้งานตรงตามพฤติกรรมผู้ใช้ คนไทยมีพฤติกรรมใช้ชีวิตในบ้านแบบดิจิตอลจึงมีการตั้งแนวคิดในการรวมสินค้าที่เรียกว่า “LG home network” เพื่อรวมเอาสินค้าหลายอย่างเข้ามาใช้งานร่วมกันได้ แนวคิดนี้มีสินค้าที่ใช้เชื่อมกันได้แก่ จอพลาสมาที่ต่อเครื่องเล่น โฮมเธียเตอร์ เชื่อมต่อกับ เครื่องปรับอากาศ ต่อกับเครื่องซักผ้า และตู้เย็นโดยใช้โทรศัพท์มือถือในการสั่งงานได้โดยตรง หรือสั่งผ่านอุปกรณ์เครื่องใช้ได้ทุกชนิดเพราะมีจอแสดงผลในการสั่งการ แนวคิดนี้ทำให้แอลจีมิตรฯ ต้องขยายขอบเขตของสินค้าให้กว้างขวางขึ้น จากเดิมทำตลาดสินค้าด้านคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ไปสู่สินค้าไอที เป็นการเติมสินค้าเพื่อให้ใช้งานได้สมบูรณ์แบบ ถึงแม้สินค้าแอลจีฯเน้นทำตลาดกลุ่ม โฮมเน็ตเวิร์คเป็นหลักแต่การใช้งานที่เชื่อมต่อกันได้ทำให้ผู้ใช้ง่ายและสะดวกที่จะใช้งานอุปกรณ์ทุกอย่าง

และด้าน คนห่วงใยสุขภาพ
       แอลจีฯ นำเครื่องปรับอากาศที่มีระบบกรองอากาศเข้ามาทำตลาด หรือนำเอาจอแอลซีดีที่มีดีไซน์ทันสมัย เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นเครื่องตกแต่งห้อง ใช้พื้นที่ไม่มากนัก การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดต้องดูที่พฤติกรรมของผู้บริโภคต้องศึกษาละเอียดยิ่งขึ้น สินค้าของแอลจีฯทำตลาดผลการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาด ซึ่งแอลจีฯหวังว่าการทำเช่นนี้ จะทำให้สินค้าติดตลาดและมีความเหมาะสม แอลจีฯหันมาให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้ให้น้อยที่สุด

วันพุธ

(IMC) Word Of Mouth Communication : การสื่อสารแบบปากต่อปาก

การสื่อสารแบบปากต่อปาก
เป็นการสื่อสารแบบดั้งเดิมที่กำลังมีบทบาทเทียบเคียงกับสื่อออนไลน์ในขณะนี้ แต่เป็นการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ โดยการบอกต่อแบบปากต่อปาก ซึ่งเกิดจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้ใช้สินค้าหรือบริการแล้วเกิดความพึงพอใจ ก็บอกต่อไปยังบุคคลอื่น ทำให้ข่าวสารกระจายไปอย่างรวดเร็ว ในทางตรงข้ามหากสารนั้นเป็นข้อมูลทางลบ Word of mouth ก็จะนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปอย่างงรวดเร็วเช่นกัน

การสื่อสารในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นและส่งผลดีต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
1.ผู้สื่อสารต้องการถ่ายทอดข่าวสารที่ตนประสบหรือรับรู้มา (ทั้งด้านบวกและลบ) ไปยังบุคคลอื่น
2.ผู้สื่อสารต้องการนำเสนอข่าวสารเรื่องที่ตนสนใจเป็นพิเศษ
3.ผู้สื่อสารไม่ต้องการให้คนใกล้ตัวใช้สินค้าหรือบริการที่ตนรู้สึกไม่พึงพอใจ
4.ผู้สื่อสารต้องการนำเสนอสิ่งที่ดีให้กับคนใกล้ตัว
5.ผู้สื่อสารต้องการ การเป็นผู้นำแฟชั่น หรือค่านิยมใหม่ๆ

         ข้อมูลด้านบวกของสินค้าหรือบริการจากคนใกล้ตัวทำใหเกิดการยอมรับมากกว่าการโฆษณา อีกทั้งทำให้สินค้าหรือบริการนั้นเป็นที่น่าสนใจ และได้รับการพิสูจน์ด้วยการซื้อใช้ ทำให้ผู้บริโภคยอมรับและพึงพอใจในสินค้าหรือบริการใหม่ได้ง่ายขึ้น เหมาะกับสินค้าหรือบริการใหม่ที่เพิ่งเข้าตลาด

          การสื่อสารแบบปากต่อปากมีความลึกซึ้งและมีอิทธิพลมากกว่าสื่ออื่นๆ เพราะผู้ส่งสารจะถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้ดีและละเอียดกว่า ประกอบกับมีพลังแห่งการชักชวนที่ถ่ายทอดออกมาจากความรู้สึก ประทับใจ หรือความพึงพอใจเป็นพิเศษ แล้วต้องการบอกให้คนใกล้ตัวรับรู้ ลักษณะนี้คล้ายกับการโฆษณารูปแบบ Testimonial คือการใช้บุคคลที่ใช้สินค้าแล้วเกิดความพึงพอใจมายืนยันรับรองคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการผ่านสื่อโฆษณา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค แต่การสื่อสารแบบปากต่อปากจะสร้างความรู้สึกที่เป็นจริงมากกว่าเพราะผู้ใช้สินค้าบอกต่อเอง

การใช้การสื่อสารแบบปากต่อปากต้องคำนึงถึงเงื่อนไขต่อไปนี้
1. สินค้า/บริการ ที่กล่าวถึง หรือเรื่องราวที่จะสื่อสาร ต้องดี โดดเด่น หรือมีลักษณะพิเศษแปลกใหม่
2. ผู้สื่อสารต้องมีลักษณะเป็น “ผู้นำความคิด” (Opinion Leader) มีความเป็นกลางในการให้ข้อมูลทั้งด้านบวกและลบ
3. กลยุทธ์นี้ใช้ได้ผลดีกับสินค้าหรือบริการที่ให้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นเมื่อมีผู้ซื้อมากขึ้น
4. บริษัทผู้ผลิตต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน เพื่อเป็นเครือข่ายในการสร้างกระแสแบบปากต่อปาก
5. ควรเป็นรายแรกในการผลิตสินค้าหรือให้บริการ และต้องนำเสนอความจริงเท่านั้น
6. ต้องศึกษาถึงวัย วัฒนธรรม และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ในการสร้างกระแสแบบปากต่อปาก
7. ผู้ทำหน้าที่สื่อสารต้องเป็นผู้ใช้สินค้า ไม่ควรเป็นเจ้าของสินค้า เพราะจะทำให้เกิดเป็นการโฆษณาชวนเชิ่อ (Propaganda)
8. ควรใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์บ้าง โดยให้บุคคลที่มีชื่อเสียงและมีความน่าเชื่อถือมานำเสนอถึงผลการใช้สินค้าหรือบริการเพื่อเป็นการสนับสนุน
การสื่อสารลักษณะนี้มีข้อดีคือ มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งธุรกิจบางประเภทนำการสื่อสารนี้ไปปรับใช้รูปแบบการส่งเสริมการขายที่เรียกว่า “Member get member” คือการให้ลูกค้าเก่าบอกต่อลูกค้าใหม่ ซึ่งทั้งลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่จะได้รับสิทธิพิเศษ

ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้การสื่อสารแบบปากต่อปาก
ธุรกิจบัตรเครดิตหลาย Brand และธนาคารบางแห่ง ใช้กลุยุทธ์แบบปากต่อปากในรูปแบบที่เรียกว่า “Member get member” โดยใช้ฐานลูกค้าเดิมด้วยการให้ลูกค้าแนะนำเพื่อนมาสมัครบัตรเครดิต หรือเปิดบัญชีใหม่ 3 คน ลูกค้าผู้แนะนำจะได้รับของสมมนาคุณ เช่น ธุรกิจบัตรเครดิต HSBC, City Bank, Central Card, ธนาคารกสิกรไทย เป็นต้น

บทบาทของอินเทอร์เน็ตต่อการสื่อสารแบบปากต่อปาก
        ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่นิยมใช้มากทั่วโลก ด้วยข้อดีด้านประสิทธิภาพของเวลา สถานที่ ความรวดเร็ว ระยะทางและข้อมูลข่าวสารที่มีความหลากหลาย จึงพัฒนาเป็นกระแสบอกต่อบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า “Word of mouse” หรือ “Word of web” หรือเรียกว่า “Viral marketing” คือการบอกต่อเสมือนเชื้อไวรัสที่กระจายอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเว็บไซต์ Hotmail ที่ใช้กลยุทธ์แล้วได้ผล Hotmail เป็น (ISP: Internet Service Provider) ที่ให้บริการอีเมล์ฟรีแก่สมาชิก

         นักธุรกิจบางกลุ่มให้ความสนใจและนำกลยุทธ์การสื่อสารแบบปากต่อปาก “Word of mouth” มาปรับใช้อย่างเหมาะสมกับธุรกิจที่กำลังชะลอตัวอย่างในปัจจุบัน จนพัฒนาไปเป็นเป็น “Viral marketing” ในสื่อออนไลน์

ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ Viral Marketing
บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำธุรกิจบัตรเครดิต KTC แม้ต้องเผชิญกับวิกฤตเศรฐกิจ และคู่แข่ง แต่ KTC ยังเป็นแบรนด์ที่โดดเด่นเสมอ โดยหันมาใช้สื่อที่ใช้ต้นทุนน้อยกว่าแต่กำลังมาแรงคือ สื่ออินเทอร์เน็ตหรือ New Media รวมถึงกลยุทธ์การสื่อสารแบบปากต่อปาก ซึ่งความสำคัญอยู่ที่ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ดีๆ จาก KTC แล้วลูกค้าจะบอกต่อๆ กันไป

(IMC) Display : การจัดแสดงสินค้า

การจัดงานแสดงสินค้า (Display) คือ ช่องทางชั่วคราวทางการขายอย่างหนึ่ง ที่ใช้ต้นทุนต่ำในการ นำเสนอและสาธิตสินค้าแก่ผู้บริโภคเป้าหมายที่คาดว่าจะเป็นผู้ซื้อสินค้า งานจัดแสดงสินค้า ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากในการแนะนำสินค้าใหม่ เพราะสามารถสาธิตและรับสั่งจองสินค้าจากกลุ่มเป้าหมายได้

      การจัดแสดงสินค้าในหน้าต่างโชว์หน้าร้านถือเป็น  “ดวงตา” ของร้านที่จะคอยดึงดูดความสนใจจากลูกค้าที่เดินผ่านไปมาและหยุดพิจราณาสินค้า จึงถือว่าเป็นการจัดแสดงสินค้าที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก  ดังนั้นการเลือกสินค้าที่จะนำมาจัดแสดงในหน้าต่างโชว์หน้าร้าน จึงมีผลต่อการที่ลูกค้าจะเข้ามาในร้านหรือไม่ การจัดแสดงสินค้าในหน้าต่างโชว์หน้าร้าน

การจัดแสดงสินค้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1 หน้าต่างโชว์แบบเดียวหรือแบบแบนราบ (Single Display) เป็นการจัดแสดงสินค้าไว้ด้านหลังของผนังด้านหน้าของร้านค้าซึ่งเป็นกระจกแบนราบ  สามารถมองเห็นด้านหน้าเพียงด้านเดียวเท่านั้น  ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกขนาดใหญ่  นิยมจัดทำหน้าต่างโชว์ประเภทนี้เพราะทำได้ง่ายไม่ซับซ้อน

2 หน้าต่างโชว์แบบมุม (Corner Display) เป็นการจัดแสดงสินค้าที่น่าสนใจกว่าการจัดหน้าต่างโชว์แบบเดี่ยว  เพราะสามารถมองเห็นการจัดแสดงได้ 2 ด้าน เป็นการจัดส่วนมุมด้านหน้าของร้าน เหมาะสำหรับร้านค้าที่ตั้งอยู่หัวมุมของอาคารหรือร้านค้าที่มีพื้นที่หน้าร้านกว้างขวางมากๆ

3 หน้าต่างโชว์แบบเกาะ (Island Display) เป็นการจัดหน้าต่างโชว์ที่เปิดโอกาสให้ผู้พบเห็นสามารถมองเห็นการจัดแสดงสินค้าได้ทุกๆด้าน  หาสามารถจัดแสดงสินค้าได้สวยงามจะดึงดูดสายตาและน่าสนใจกว่าหน้าต่างโชว์แบบอื่น หากต้องการจัดหน้าต่างโชว์แบบนี้ร้านค้าต้องมีพื้นที่กว้างขวางเพราะเป็นตู้โชว์ที่แยกตัวออกมาต่างหาก ไม่มีส่วนใดอยู่ติดกับผนังด้านหน้าหรือด้านใดของร้าน

เหตุผลที่ต้องมีการจัดแสดงสินค้าในหน้าต่างโชว์หน้าร้าน
1.สร้างความสะดุดตาแก่ผู้พบเห็น ร้านค้าที่ตั้งอยู่ตามย่านการค้าต่างๆมักมีสภาพหน้าร้านคล้ายๆกัน หากไม่ทำการจัดแสดงสินค้าในหน้าต่างโชว์ก็จะทำให้ไม่มีความแตกต่างไปจากร้านอื่นเลย ร้านค้าที่ต้องการเรียกร้องความสนใจจากผู้พบเห็นจะให้ความสำคัญกับการจัดแสดงสินค้าในหน้าต่างโชว์หน้าร้านมาก  เพราะจะทำให้เกิดความสะดุดตาแก่ผู้พบเห็นได้มากแล้วก็จะดึงดูดใจให้ลูกค้าเดินเข้าร้านค้าและซื้อสินค้าในที่สุด

2.แสดงให้เห็นถึงย่านหรือบริเวณที่ทำให้ลูกค้ามุ่งซื้อมาก ปัจจุบันร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าประเภทเดียวกันมักจะตั้งอยู่ในย่านเดียวกัน เช่น ร้านจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าย่านวัดตึก จำหน่ายทองรูปพรรณย่านเยาวราช เป็นต้น การจัดแสดงสินค้าตามหน้าต่างโชว์หน้าร้านมักจะให้สัมพันธ์กับย่านการค้านั้นๆ เพื่อให้ลูกค้าจดจำและระลึกได้เมื่อเกิดความต้องการในสินค้านั้นๆ

3. สามารถจัดสินค้าได้ตามฤดูกาล การจัดแสดงสินค้าตามฤดูกาลหรือเทศกาลต่างๆ ถือว่ามีความหมายต่อการจัดแสดงสินค้าหน้าต่างโชว์หน้าร้าน เพราะสามารถจะจัดสินค้าได้ตามฤดูกาลหรือเทศกาลนั้นๆได้  กระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการสินค้าอยู่ตลอดเวลา และสามารถสร้างยอดขายให้กับร้านค้า

หลักเบื้องต้นของการจัดแสดงสินค้าในหน้าต่างโชว์หน้าร้าน
1.วางแผนการจัดแสดงสินค้าล่วงหน้า การจะจัดแสดงสินค้าตามหน้าต่างโชว์หรือการจัดแสดงสินค้าแต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการวางแผนการดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น การเลือกสินค้าที่จะมาจัดแสดงจำนวนสินค้าที่จัดแสดงมีเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าหรือไม่

2. เน้นสินค้าที่กำลังอยู่ในความต้องการ ควรเป็นสินค้าที่มีอัตราการขายที่รวดเร็ว การจะทำให้สินค้ามีอัตราการขายที่รวดเร็วทำได้โดย  เลือกสินค้าที่มีสิ่งจูงใจในการขาย เช่น เป็นสินค้าใหม่ทันสมัยรูปแบบแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร หรือเป็นสินค้าที่กำลังอยู่ในความต้องการ ก่อให้เกิดการซื้อโดยปัจจุบันทันด่วน

3. ความทันต่อเหตุการณ์ เช่น ตามเทศกาล ฤดูกาล แฟชั่น ร้านค้าที่มักมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดแสดงสินค้าหน้าต่างโชว์หน้าร้านตลอดเวลา มักได้รับความสนใจจากผู้พบเห็นมากกว่าร้านค้าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านใดเลย ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณในการส่งเสริมการขายสูงมักมีการจัดแสดงสินค้าตามเทศกาล ฤดูกาลหรือแฟชั่นต่างๆ เพื่อกระตุ้นความต้องการให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกแปลกใหม่

การจัดแสดงสินค้าเคาน์เตอร์  (Top Of Counter Display)
1.การจัดแสดงสินค้าแบบเปิด  (Open Display)
2.การจัดแสดงสินค้าแบบปิด (Closed Display)
3.การจัดแสดงสินค้าบนผนัง (Wall Display)
4.การจัดแสดงสินค้าแบบแขวน (Hanging Display)
5.การจัดแสดงสินค้าเชิงสถาปัตยกรรม (Archeteetural Display)

ข้อดีของการจัดแสดงสินค้า
1.ประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ
2.ช่องทางและโอกาสในการขาย
3.ได้โชว์ศักยภาพอย่างเต็มที่
4.ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งกับลูกค้าและกลุ่มธุรกิจ
5.สร้างฐานข้อมูลของลูกค้า

(IMC) Music Marketing : การสื่อสารการตลาดด้วยดนตรี

ความหมายของ Music Marketing

Music Marketing คือ การทำตลาดด้วยการใช้ดนตรีมาดึงดูดความสนใจของลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของตลาด ยกตัวอย่าง เช่น เครื่องดื่มเป๊ปซี่ ที่ใช้ดนตรีเข้ามาเป็นตัวกลางในการสื่อสารกับผู้บริโภคซึ่งในแต่ละปีจะมีการเลือกนักร้องที่ได้รับความนิยมเข้ามาเป็นพรีเซ็นเตอร์ พร้อมเข้ามาสนับสนุนคอนเสิร์ตเพื่อเปิดโอกาสให้คนดื่มเป๊ปซี่ได้เข้าไปชม

ข้อดีของกลยุทธ์ Music Marketing
1.เป็นการตลาดที่สามารถเรียกคนได้ทันทีอย่างน้อยก็เป็นพัน
2.ความบันเทิงเป็นสิ่งที่คนชอบอยู่แล้ว
3.สามารถขายสินค้าของตัวเองได้ทันที

ข้อเสียของกลยุทธ์Music Marketing
1.กลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มอาจไม่ชอบแนวดนตรีหรือศิลปินที่เราจัดขึ้น
2.ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในวงกว้างได้
3.กลุ่มเป้าหมายอาจไม่รู้ถึงกิจกรรมที่จัดขึ้น หากมีการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ดีพอ

ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์ Music Marketing

Coke Music Awards
โค้ก จัดคอนเสิร์ต และจัดประกวดวงดนตรี เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น อายุระหว่าง 15-25ปี และผู้ที่สนใจในการประกวด



Honda Reggae on the Rock
ฮอนด้า จัดคอนเสิร์ต “Reggae on the Rock” ริมชายหาดชะอำ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ชอบดนตรี แนวนี้


สวัสดี ลูกทุ่งทั่วไทย
 เอไอเอส สวัสดี จัดคอนเสิร์ต สวัสดีลูกทุ่งทั่วไทยยกขบวน 4 พรีเซ็นเตอร์ 4 ศิลปินลูกทุ่งเบอร์หนึ่ง จาก 4 ค่ายเพลง มาถ่ายทอดเพลงฮิตติดหูในแบบ ลูกทุ่ง..แฟนตาซี..โชว์ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ชอบเพลงลูกทุ่ง


วันอังคาร

(IMC) Merchandising : การใช้ผลิตภัณฑ์เป็นสื่อ

Merchandising ในหัวข้อ IMC หมายถึง การใช้ความนิยมในแบรนด์ของสินค้าหนึ่งแล้วต่อยอดด้วยการผลิตสินค้าอื่นๆออกมาจำหน่ายภายใต้แบรนด์หรือภาพลักษณ์ที่เป็นที่นิยมนั้นๆเช่น ของเล่นที่ขายพร้อมอาหารในร้านแม็คโดนัลด์

Merchandising ในอีกความหายหนึ่ง หมายถึง การจัดเรียงและนำเสนอสินค้าซึ่งมักจะใช้ควบคู่ไปกับวัสดุส่งเสริมการขายอื่น

ปัจจัยสำคัญของ Merchandising  คือการเข้าใจเรื่องภาพลักษณ์ของแบรนด์
ก่อนที่จะออกแบบต้องเข้าใจเรื่องแบรนด์เป็นอย่างดีว่าอะไรคือจุดเด่นหรือเป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์
อะไรเป็นสิ่งที่แบรนด์อยากสื่อสารกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหรือตามหลักการของการสื่อสารแบบบูรณาการของแบรนด์

ทั้งนี้หลักการที่ว่านี้รวมไปถึงรสสัมผัสทั้งห้าที่เรารู้ๆกันอยู่คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซี่งหลายคนที่เคยไปเดินช้อปปิ้งในห้างดังๆจะได้ประสบการณ์เหล่านี้เป็นอย่างดีทั้งรูปแบบการจัดเรียงสินค้า เสียงเพลงที่สร้างบรรยายกาศชวนซื้อ กลิ่นของความหอมในแผนกต่างๆ เสียงที่น่าฟังและการต้อนรับที่สัมผัสได้ของพนักงานขายในแผนกต่างๆ

ข้อดีของ Merchandising 
-สำหรับลูกค้าหรือผู้บริโภค คือ ทำให้ได้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจซื้อมากขึ้นในเวลาที่ต้องการ
-สำหรับร้านค้า คือ ช่วยให้สินค้าขายได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเชียร์ซื้อ-ขาย มากนัก
-สำหรับผู้ผลิตคือช่วยเพิ่มการสื่อสารของแบรนด์ให้มากขึ้น

ข้อเสียของ Merchandising
-หากมีสิ่งข้างต้นมากเกินไปลูกค้าก็จะรู้สึกรำคาญ
-ร้านค้าก็รู้สึกเกะกะ หากมีมากเกินไป
-ผู้ผลิตก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากในการผลิตและติดตั้ง เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาให้เหมาะสม

ส่วนสำคัญในการสื่อผลิตภัณฑ์ คือ การบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์ คือ บรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ หมายถึงศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการคุ้มครองปกป้องสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยด้วยต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม

ความสำคัญของการบรรจุภัณฑ์
1.รักษาคุณภาพและปกป้องตัวสินค้า เริ่มตั้งแต่การขนส่ง การเก็บให้ ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมิให้เสียหายจากการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง แมลง คน ความชื้น ความร้อน แสงแดด และการปลอมปน เป็นต้น

2.ให้ความสะดวกในเรื่องการขนส่ง การจัดเก็บมีความรวดเร็วในการ ขนส่ง เพราะสามารถรวมหน่วยของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นหน่วยเดียวได้ เช่น ผลไม้หลายผลนำลงบรรจุในลังเดียว หรือเครื่องดื่มที่เป็นของเหลวสามารถบรรจุลงในกระป๋องหรือขวดได้ เป็นต้น

3.ส่งเสริมทางด้านการตลาด บรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่ายเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคเห็น ดังนั้นบรรจุภัณฑ์จะต้องจะทำหน้าที่บอกกล่าวสิ่งต่างๆของตัวผลิตภัณฑ์โดยการบอกข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดของตัวสินค้าและนอกจากนั้นจะต้องมีรูปลักษณ์ที่สวยงามสะดุดตาเชิญชวนให้เกิดการตัดสินใจซื้อ ซึ่งการทำหน้าที่ดังกล่าวของ บรรจุภัณฑ์นั้นเป็นเสมือนพนักงานขายที่ไร้เสียง

ประโยชน์บรรจุภัณฑ์
-สำหรับผู้ผลิต ใช้เป็นสื่อเผยแพร่ โฆษณาตัวสินค้าได้ไปในตัวพอเห็นบรรจุภัณฑ์แบบนี้ก็นึกถึงสินค้าเราได้ทันที เช่น เห็นขวดรูปทรงเดียวกันกับกระทิงแดงก็คิดว่าเป็นน้ำชนิดเดียวกันทันที ช่วยยกระดับราคา สร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้า สะดวกต่อการจัดเก็บและการรักษา สะดวกต่อการจัดส่งและเคลื่อนย้าย สะดวกต่อการแยกประเภทและจัดหมวดหมู่ ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้า

-สำหรับผู้บริโภค ก็ได้ประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์ที่ดีเช่นกัน คือ ช่วยสร้างความภูมิใจในการซื้อ ถือแล้วดูดีดูเท่ไม่อายใคร สามารถแปรรูปประยุกต์ใช้งานอื่นได้ พกพา เคลื่อนย้ายสะดวก สามารถรักษาสินค้าให้มีอายุใช้งานมากขึ้น ช่วยให้รู้รายละเอียดแหล่งที่มาของสินค้า

ข้อเสียของบรรจุภัณฑ์
-ผลกระทบต่อสังคม ปัญหาที่ยังมิได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังคือ ผลกระทบต่อนิเวศน์วิทยา เกี่ยวกับการทำลายซากของบรรจุภัณฑ์ มูลเหตุที่ต้องมีการพัฒนาบรรจุ และขยะ

(IMC) Movie Marketing : การสื่อสารการตลาดผ่าน ภาพยนต์

Movie Marketing : เป็นกลยุทธ์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของสินค้าชนิดต่างๆได้ดี มีการนำเสนอสินค้าได้ตรงจุดที่สุด สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

1.ภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลต่อตราสินค้า
2.ตราสินค้าร่วมลงทุนทำภาพยนตร์กับค่ายหนัง

1.ภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลต่อตราสินค้า คือ
ภาพยนตร์ที่ได้ความนิยมสูงหรือเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ ตราสินค้าจึงนำสินค้าของตนมาผลิตให้มีคาแรกเตอร์ตามภาพยนตร์นั้นๆ เพื่อมาออกจำหน่าย

ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนต์ เรื่อง ทรานฟอร์เมอร์  และ เรื่อง สมเด็จพระนเรศวร




สรุปคือ มีการสร้างภาพยนตร์มาก่อน เมื่อได้รับความนิยมจึงผลิตสินค้าตามมาที่มีคาแรกเตอร์ตามภาพยนตร์ดังกล่าว

2.ตราสินค้าร่วมลงทุนทำภาพยนตร์กับค่ายหนัง 


คือ การสร้างความร่วมมือระหว่าง เจ้าของสินค้า หรือ แบรนด์ ร่วมกับค่ายผู้สร้างภาพยนต์ เช่น เรื่อง กวนมึนโฮ : ตอบโจทย์กลุ้มเป้าหลายที่ใส่ใจสุขภาพ ชื่นชอบการดื่มอัดลมและเป็นคอหนัง กับ เรื่องราวของหนังที่คนสองคนไม่รู้จักกันได้พบและทำกิจกรรม ร่วมกันจนเกิดเป็นความรัก


ข้อดีของ Movie Marketing
มีการทำยอดขายได้มาก
เป็นแรงบันดาลใจให้ตราสินค้าจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับภาพยนตร์

ข้อเสียของ Movie Marketing
อาจจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอื่นได้น้อย