หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดี

(IMC) Sensory Marketing : การจับพฤติกรรมของคนใส่สินค้า

Sensory Marketing  คือ การมุ่งทำความเข้าใจกระบวนการรับรู้ของผู้บริโภค ซึ่งเริ่มต้นจากการรับสัมผัส หมายถึง การมีสิ่งกระตุ้นมากระทบประสาทสัมผัสของผู้บริโภคของผู้บริโภค ไปจนถึงกระบวนการคิด ตีความ แปลความหมายของผู้บริโภค แล้วนำมาใช้ในการวางแผนการตลาดเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบการสื่อสาร

โดยผ่าน The 5 Senses
        การทำการตลาดส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับระบบการรับสัมผัสของผู้บริโภคเพียงสองส่วนคือการเห็นและการได้ยิน นักการตลาดจะสร้างประสบการณ์ในตราโดยมุ่งเน้นไปที่ประสาทตาและหูของผู้บริโภค ทั้งๆ ที่จริง แล้วจากผลการวิจัย ระบบการรับสัมผัสส่วนอื่นของผู้บริโภค ได้แก่ การได้กลิ่น และ ความรู้สึกจากผิวสัมผัส สามารถสร้างความประทับใจ ปฏิกิริยาตอบสนอง เรียกความทรงจำ ตลอดจนกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกได้ดีกว่าการเห็นและการได้ยิน

5 ประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้รับรสชาติ และ การสัมผัส  เช่น ในการซื้อสินค้าหนึ่งๆ ผู้บริโภคคาดหวังจะสัมผัสมันแล้วเป็นอย่างไร คาดหวังให้มันมีกลิ่นอย่างไร มีรูปร่างหน้าตาดีไซน์อย่างไร มีเสียงเป็นอย่างไร

การมองเห็น ( Sight or Vision)
จากผลสำรวจพบว่า 83% ของการรับรู้ของผู้บริโภคเกิดจากการมองเห็น การมองเห็นเป็นแนวทางในการสร้าง Brand Experience กับผู้บริโภค ที่ด้อยกว่าการให้ผู้บริโภคได้กลิ่น ได้ทดลองชิมและ ได้สัมผัส เช่น การมองเห็นสีร้อนมีผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นและความดันเลือดสูงขึ้น ในขณะที่การมองเห็นสีเย็นส่งผลในทางตรงกันข้าม สีส้มมีผลต่อการกระตุ้นความหิวของผู้บริโภค ส่วนสีฟ้าและสีเขียวช่วยในการลดความกังวล

เสียง ( Sound )
ผลวิจัยพบว่าการใช้เพลงที่เป็นที่นิยมในโฆษณามีผลด้านบวกต่อการจดจำโฆษณาได้ของผู้บริโภค และ ยังพบว่าเสียงเพลงมีผลต่อยอดขายในขณะที่เสียงรบกวนมีผลทางลบต่อยอดขายของร้านค้าปลีก เสียงเป็นอีกสิ่งเร้าหนึ่งที่กระตุ้นอารมณ์และความทรงจำได้ดี เช่น อาหารเช้าธัญพืชKellogg ที่มีLab เพื่อพัฒนาคุณภาพเสียงของผลิตภัณฑ์ (เสียงกรอบ เสียงเมื่อถูกเคี้ยว) รถยนต์ BMW ที่สร้างเสียงของเครื่องยนต์ให้ผู้ใช้เกิดการรับรู้ที่พึงพอใจในสมรรถนะเครื่องยนต์มากที่สุด โดยรวมก็คือเราใช้ “เสียง” เพื่อให้เป็น “Brand Message” ในการทำ Branding

กลิ่น ( Smell )
การได้กลิ่นเป็นการรับสัมผัสโดยตรงและกระตุ้นการทรงจำได้ดีที่สุด นักการตลาดใช้กลิ่นในการสร้างอารมณ์เพื่อให้มีผลด้านบวกต่อผลิตภัณฑ์ ลองพิจารณาถึงอารมณ์ความรู้สึกเมื่อได้กลิ่นน้ำหอม กลิ่นของสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นทะเลหรือภูเขา หรือ กลิ่นอาหาร กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของเราได้ดีเพียงใด เช่น สิ่งที่กระตุ้นให้ลูกค้าที่ผ่านไปมาเดินเข้าร้านกาแฟหรือเบเกอรี่ ก็คือ กลิ่นกาแฟและกลิ่นจากการอบขนมปัง โรลออนดับกลิ่นตัว ที่ต้องวางหรือแขวนสินค้าตัวอย่างไว้บน Shelf ให้ผู้บริโภคได้ดมกลิ่น เป็นต้น

การสัมผัส ( Touch )
การได้สัมผัสของผู้บริโภค เป็นการรับข้อมูลที่สำคัญของพวกเขา สินค้าที่ผู้บริโภคต้องการสัมผัสเมื่อเลือกซื้อได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มต่างๆ รวมทั้งกระดาษทิชชู สินค้าเหล่านี้ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพความอ่อนนุ่มเมื่อได้สัมผัส ตลอดจนการมีตัวอย่างที่ลูกค้าสามารถสัมผัสจับต้องเปรียบเทียบระหว่างตรายี่ห้อได้

รสชาติ ( Taste )
ความสำเร็จของผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มถูกกำหนดโดยรสชาติ ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากในเรื่องรสชาติก็คือ วัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการตีความเรื่องรสชาติของผู้บริโภค

ยกตัวอย่างเช่น สตาร์บัคส์ ร้านกาแฟ
ร้านกาแฟชื่อดัง "สตาร์บัคส์" ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะรสชาติกาแฟสไตล์อเมริกัน  กลิ่นอายหอมระมุนด้วยเมล็ดกาแฟพันธุ์ดี รวมไปถึงการตกแต่งร้านที่สวยหรู มีรสนิยม  พร้อมขับกล่อมด้วยเสียงเพลงเฉพาะของร้านสตาร์บัคส์ สร้างความรู้สึก 5 สัมผัสประสบการณ์กับกาแฟสตาร์บัคส์ที่ทำให้ลูกค้าหลงไหลได้อย่างลงตัวจนกลายเป็น Community ที่น่าเข้าไปสัมผัส สตาร์บัคส์ ใช้กลยุทธ์ Sensory Branding  ได้อย่างน่าทึ่ง !! เพราะสร้างประสบการณ์กับลูกค้าทั้ง 5 มิติได้อย่างลงตัว และดีเยี่ยม โดยรูปมาจากการเห็นได้ด้วยสายตา ทั้งโลโก้ร้าน แก้วกาแฟที่ต้องมีแบรนด์ติดไว้ด้วยเสมอ สีสันการตกแต่งร้าน เสียงเพลงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะสร้างบรรยากาศ โดยเพลงที่เปิดจะฟังสบาย และรสชาติกาแฟ เป็นอีกหนึ่ง 'สัมผัส' ที่เป็นอีกสิ่งที่สร้างความแตกต่างระหว่างแบรนด์  อีกทั้งยังมีกลิ่นอโรมา ที่ได้จากการบดกาแฟสดใหม่ทุกวัน ช่วยให้จุดขายเรื่อง 'กลิ่น'

การจับพฤติกรรมของคนใส่สินค้า คือ การนำเอาพฤติกรรม ความชอบ หรือไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค มาออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

ตัวอย่างเช่น LG จับพฤติกรรมผู้บริโภค
บริษัท แอลจี มิตร อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด เปิดเผยถึงการทำตลาดว่ามีการจับพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยด้วยการผลิตสินค้าที่มีฟังก์ชั่นใช้งานตรงตามพฤติกรรมผู้ใช้ คนไทยมีพฤติกรรมใช้ชีวิตในบ้านแบบดิจิตอลจึงมีการตั้งแนวคิดในการรวมสินค้าที่เรียกว่า “LG home network” เพื่อรวมเอาสินค้าหลายอย่างเข้ามาใช้งานร่วมกันได้ แนวคิดนี้มีสินค้าที่ใช้เชื่อมกันได้แก่ จอพลาสมาที่ต่อเครื่องเล่น โฮมเธียเตอร์ เชื่อมต่อกับ เครื่องปรับอากาศ ต่อกับเครื่องซักผ้า และตู้เย็นโดยใช้โทรศัพท์มือถือในการสั่งงานได้โดยตรง หรือสั่งผ่านอุปกรณ์เครื่องใช้ได้ทุกชนิดเพราะมีจอแสดงผลในการสั่งการ แนวคิดนี้ทำให้แอลจีมิตรฯ ต้องขยายขอบเขตของสินค้าให้กว้างขวางขึ้น จากเดิมทำตลาดสินค้าด้านคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ไปสู่สินค้าไอที เป็นการเติมสินค้าเพื่อให้ใช้งานได้สมบูรณ์แบบ ถึงแม้สินค้าแอลจีฯเน้นทำตลาดกลุ่ม โฮมเน็ตเวิร์คเป็นหลักแต่การใช้งานที่เชื่อมต่อกันได้ทำให้ผู้ใช้ง่ายและสะดวกที่จะใช้งานอุปกรณ์ทุกอย่าง

และด้าน คนห่วงใยสุขภาพ
       แอลจีฯ นำเครื่องปรับอากาศที่มีระบบกรองอากาศเข้ามาทำตลาด หรือนำเอาจอแอลซีดีที่มีดีไซน์ทันสมัย เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นเครื่องตกแต่งห้อง ใช้พื้นที่ไม่มากนัก การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดต้องดูที่พฤติกรรมของผู้บริโภคต้องศึกษาละเอียดยิ่งขึ้น สินค้าของแอลจีฯทำตลาดผลการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาด ซึ่งแอลจีฯหวังว่าการทำเช่นนี้ จะทำให้สินค้าติดตลาดและมีความเหมาะสม แอลจีฯหันมาให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้ให้น้อยที่สุด