หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดี

(IMC) Franchise : แฟรนไชส์

แฟรนไชส์ (Franchise) คือ สิทธิพิเศษที่บริษัทแม่มอบให้กับ ผู้ที่เข้าร่วมกิจการโดยสิทธิพิเศษนี้ จะครอบคลุมระบบเกือบ ทั้งหมดเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจการนั้นสามารถทำธุรกิจได้แม้จะไม่มีประสบการณ์มาเลย แฟรนไชส์จึงหมายถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจหรือตลาดในการกระจายสินค้า หรือบริการสู่ผู้บริโภคโดยหน่วยธุรกิจซึ่ง ประสบความสำเร็จและต้องการขยายการจำหน่ายสินค้า หรือบริการของตน (บริษัทแม่) โดยผ่านหน่วยค้าปลีก (บริษัทสมาชิก) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอิสระ และทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงร่วมกัน ภายใต้เครื่องหมายการค้าหรือบริการ เทคนิคการตลาดและอำนาจของบริษัทแม่ ในการควบคุมหน่วยธุรกิจนั้นเพื่อแลก กับการได้รับชำระค่าธรรมเนียม และค่ารอยัลตี้ (กำไรบางส่วน) จากบริษัทสมาชิก ดังกล่าวโดยกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการทำข้อตกลงทางกฎหมายระหว่างกลุ่มบุคคล 2 กลุ่ม คือ

              แฟรนไชส์ซอร์ ( Franchisor ) คือ กลุ่มบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของตราสินค้าหรือบริการหรือเครื่องหมายการค้า และได้พัฒนาวิธีการอันได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในการประกอบการและการจัดการธุรกิจที่สามารถทำเลียนแบบ และดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่สามได้

               คุณสมบัติที่ดีของแฟรนไชส์ซอร์ ในแง่ธุรกิจจะต้องมี Business Concept ที่ดีมีแนวคิดในการดำเนินธุรกิจและมีระบบการบริหารการจัดการที่ดีพอสำหรับรองรับการขยายการเติบโตในอนาคต และที่สำคัญที่สุด ธุรกิจจะต้องประสบความสำเร็จมีผลประกอบการที่มีกำไรคุ้มค่ากับการลงทุน และในแง่ของบุคคลคือตัวผู้บริหารเจ้าของแฟรนไชส์ซอร์ จะต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่มีความยืดหยุ่นสูง มีความประนีประนอมและมีความอดทนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อันที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกัน
              นอกจากนั้นผู้บริหารยังจำเป็นจะต้องเป็นนักขายที่เก่งและเป็นนักบริหารจัดการที่ดีที่เก่งทั้งการบริหารงานและบริหารคนอีกด้วย

              แฟรนไชส์ซี ( Franchisee ) คือ กลุ่มบุคคลซึ่งได้รับสิทธิบัตรในการจำหน่ายและการดำเนินธุรกิจ โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวใช้รูปแบบและตราสินค้าหรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าอันมีแฟรนไชส์ซอร์ ( Franchisor) เป็นเจ้าของอยู่ แฟรนไชส์ที่ร่วมกิจการไม่ได้อยู่ในฐานะของพนักงานหรือลูกจ้าง ตรงข้ามเขาเป็นเจ้าของกิจการ ทำให้การสร้างความรู้สึกในความเป็นเจ้าของกิจการให้แก่พนักงานระดับต่างๆเกิดขึ้นได้ในทันทีในระบบแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซีซึ่งเป็นเจ้าของกิจการที่ทำหน้าที่บริหารงานสาขา มีความรับผิดชอบมากกว่าพนักงานโดยปกติ เป็นผลให้การดูแลติดตามและควบคุมได้ดีกว่า

รูปแบบและปัจจัยของแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ
1.มีผู้ซื้อและขายแฟรนไชส์ เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย ก็คือ แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ซึ่งมี การตกลงร่วมในการทำธุรกิจร่วมกัน ทั้งมีสัญญาและไม่มีสัญญา แต่ในอนาคตรูปแบบข้อตกลงจะปรับรูปแบบสู่ระบบการสร้างสัญญาทั้งหมด เพื่อให้ทั้งระบบแฟรนไชส์ในตลาดจะต้องถูกระบบ เพราะไม่เช่นนั้นแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ดีจะทำลายระบบด้วย

2.เครื่องหมายการค้า หรือ บริการ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบระบบธุรกิจ และใช้เครื่องหมาย การค้าเดียวกัน ระบบการจัดการธุรกิจอาจจะเป็นเครื่องมือ หรือคิดสูตรขึ้นมาเอง ในการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยมีมาตรฐานที่อยู่ในตราสินค้า Brand เดียวกัน

3.มีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 อย่างคือ ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า (Franchise Fee) และค่าตอบแทนผลการดำเนินการ ( Royalty Fee ) การทำระบบธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ สามารถสร้างระบบการจัดจำหน่ายได้ยืนยาว ในรูปแบบธุรกิจจะสร้างองค์กรการบริหารงานซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจที่ดำเนินการเห็นชัดเจน

ข้อดี-ข้อเสีย
ข้อดีอยู่หลายอย่าง เช่น สามารถขยายได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายในการควบคุมดูแลใช้เงินลงทุนต่ำ ได้รับรายได้เป็นเงินสดก่อนจากค่า Franchise Fee มีรายได้สม่ำเสมอจาก Royalty Fee แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย

ข้อเสียของการขยายธุรกิจโดยใช้แฟรนไชส์ เช่น ไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้อย่างทั่วถึง

ขายแฟรนไชส์นั้นมีอยู่สองรูปแบบใหญ่ๆ ด้วยกันก็คือ 

1.Master Franchise / Area Development การขยายโดยใช้ Master Franchise คือ การขายสิทธิ์ แฟรนไชส์ให้เป็นพื้นที่ เช่น สิทธิ์ในประเทศ หรือสิทธิ์ในภูมิภาค โดยผู้ได้รับสิทธิ์ สามารถขายแฟรนไชส์ต่อไปยัง Sub-Franchise ได้ และมีการแบ่งผลตอบแทนเป็นทอดๆ ไป เช่น
- กรณีของ COCA ขายแฟรนไชส์แบบ Master Franchise ให้กับนักลงทุนชาวสิงคโปร์ โดยนักลงทุนดังกล่าวสามารถขยายสาขาเพิ่มเติมเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ หรือขายต่อให้กับนักลงทุนรายอื่นก็ได้
- กรณีของ McDonalds ที่ขายแฟรนไชส์แบบ Master Franchise ให้กับนักลงทุนไทย แล้วนักลงทุนไทยก็ขยายสาขาเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังขายสิทธิ์แฟรนไชส์ต่อให้กับนักลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่

ข้อดีของการขายแฟรนไชส์แบบ Master Franchise คือ ขยายธุรกิจไปยังหลายๆ ตลาดได้ในเวลาที่รวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำ เพราะบริษัทไม่จำเป็นต้องไปตั้งสำนักงานอยู่ในพื้นที่นั้นๆ แต่จะให้ Master Franchise เป็นผู้ดูแลเอง บริษัทได้รายได้จากการขยายสาขาของ Master Franchise ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ Master Franchise ยังมีความรู้ในการทำการตลาดในท้องถิ่นดีกว่า และช่วยลดความเสี่ยงทางด้านกฎหมายด้วย ข้อเสียก็คือ การสูญเสียการควบคุม Sub-Franchise และปัญหาการขัดแย้งระหว่าง Master Franchise และ Sub-Franchise การยกเลิกสัญญาหากมีการผิดเงื่อนไขทำได้ยากกว่า นอกจากนี้หากตลาดดังกล่าวเล็กเกินไป การขาย Franchise แบบ Direct Franchise อาจดีกว่า

2.Direct Franchise การขยายแบบ Direct Franchise คือ การขายสิทธิ์แฟรนไชส์ตรงไปยังนักลงทุนแต่ละราย เช่น Black Canyon ขายแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุนสิงคโปร์ หนึ่งสาขา แล้วสามารถขายให้กับนักลงทุนสิงคโปร์กลุ่มอื่นๆ ได้อีก

ข้อดี คือ สามารถควบคุมได้อย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ทำให้มีมาตรฐานในการดำเนินงานมากกว่า แต่ก็มีข้อเสียคือทำให้ต้องมีการลงทุนในการดำเนินงานมากขึ้น และขยายตัวได้ช้ากว่า

ประเภทของแฟรนไชส์ Product or Brand Franchise เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายทางการค้าของผู้ผลิต Business Format Franchise เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตเพื่อขายสินค้าหรือบริการ โดยมีการถ่ายทอดในวิธีการดำเนินธุรกิจแบบร้านมาตรฐาน Conversion Franchise เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายทางการค้าของผู้ผลิต โดยผู้ผลิตได้เปลี่ยนธุรกิจที่มีอยู่เดิมแล้วให้เปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบใหม่

รูปแบบของการให้สิทธิแฟรนไชส์ ซึ่งอาจแบ่งรูปแบบได้ 3 แบบดังนี้

1.แฟรนไชส์แบบหน่วยเดียว หรือ แฟรนไชส์บุคคล ( Individual Franchise or Single Unit Franchise )
2. แฟรนไชส์แบบหลายหน่วย หรือ แฟรนไชส์แบบพัฒนาพื้นที่ ( Multiunit Franchise or Area Development Franchise )
3.แฟรนไชส์แบบ ( Subfranchise )

      รูปแบบการให้สิทธิทั้ง 3 แบบนี้ มีทั้งข้อดีข้อเสียอยู่ในตัวเองการตัดสินใจของท่านว่าจะใช้ในรูปแบบใด จึง ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและลักษณะธุรกิจของท่านเป็นเกณฑ์ แต่แฟรนไชส์ซอร์หลายท่านก็มีการใช้รูปแบบทั้ง 3 ผสมผสานกันในกลยุทธ์ของแฟรนไชส์ ตามเงื่อนไขของธุรกิจและการตลาด รวมถึงการแข่งขัน จากนี้มาดูกันว่ารูปแบบแต่ละประเภทเป็นอย่างไร ท่านควรเลือกรูปแบบใด

ข้อเสียเปรียบของการเข้าร่วมแฟรนไชส์ 
1.สูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ
2.ไม่มีหลักประกันความสำเร็จ
3.ค่าใช้จ่ายสูง