หน้าเว็บ

วันอังคาร

หลักการการตลาดตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9


หลักการการตลาดตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9

ปัญหาของนักการตลาดคือไม่ชอบตั้งราคาอย่างเหมาะสม และลืมคิดไปว่าราคาต้องให้ความสำคัญเพราะสร้างรายได้แก่องค์กร วันนี้จะขอพูดถึงการตั้งราคาทันสมัยว่ามีมุมคิดของการตั้งราคาสมัยใหม่ที่น่าสนใจอะไรบ้างที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้กับงานและธุรกิจ

ตั้งราคาเลขแปลก
การตั้งราคาเลขแปลกนั้นบางคนชอบตั้งเลข 9 เขาบอกกันว่าเลข 9 นั้นมีอาถรรพ์ อาถรรพ์นั้นคือลงท้ายด้วยเลข 9 ทีไรมักจะขายดีขึ้น จึงมีคนสงสัยว่าจริงหรือเปล่าเพราะคนสมัยนี้รู้กันแล้วว่าเลข 9 เป็นมุกของนักการตลาด เพราะฉะนั้นยังมีอาถรรพ์เหลืออยู่จริงหรือ? บางคนบอกว่าใช้เลข 8 ดีกว่าเพราะคนส่วนใหญ่คุ้นกับเลข 9 แล้ว งั้นมาตั้งราคาเลขแปลกกันดีกว่า

การตั้งราคาเลขแปลกคือไม่ลงท้ายด้วยเลข 5 และเลข 0 คำถามที่น่าสนใจคือได้ผลจริงหรือเปล่า? มีคนทำวิจับไว้แล้วเรียบร้อย ดดยเป็นศาสตราจารย์ 3 ท่านจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้นำเรื่องของเลข 9 ไปทดสอบในตลาดจริงๆ โดยการให้ร้านค้าที่เป็นร้านขายของประเภทเดียวกันแต่อยู่คนละสถานที่กันซึ่งตั้งราคาต่างกันโดยใช้เลข 9 ใส่เข้าไป ตั้งราคาไว้ที่ 39 กับ 44 เป็นร้านขายเสื้อผ้า ซึ่งปกติแล้วขายได้พอๆกันทั้ง 2 ร้าน ปรากฎว่าพอตั้งราคา 39 กับ 44 พอตั้งราคา 39 นั้นขายดีกว่า 44 ซึ่งตอนแรกพอคนรู้ผลก็ไม่ค่อยแปลกใจเพราะราคา 44 นั้นแพงกว่า 39 นั้นถูกกว่า ยังไงก็ตามราคา 39 นั้นต้องขายได้มากกว่าอยู่แล้ว จึงทำการเปลี่ยนใหม่ จากร้านที่เคย 44 เปลี่ยนมาขาย 34 แข่งกับร้านที่ขาย 39 ปรากฎว่าจำนวนตัวของเสื้อผ้าที่ขายได้ 39 ก็ยังชนะ 34 เหมือนเดิม

สิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความประหลาดใจให้กับคนที่ดูผลวิจัยเป็นอย่างยิ่งว่า 34 มันควรจะถูกกว่าแต่ทำไมเลข 9 ถึงมีอาถรรพ์ ก็เลยสรุปว่า 39 หรือการตั้งราคาด้วยเลข 9 ส่งผลและมีอาถรรพ์ทำให้คนรู้สึกว่าของถูกลงจริงและสามารถทำให้คนซื้อของมากได้ด้วยหลักการดังกล่าว จึงทำวิจัยกันต่อไปและเจอผลที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งอย่างที่ต้องระมัดระวังไว้นั่นคือเมื่อไหร่ก็ตามหากตั้งราคาเลข 9 ในสินค้าต่างๆในร้านมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เช่นมีของจำนวน 100 ชิ้น แต่ตั้งราคาเลข 9 เกินกว่า 30 ชิ้นในร้านแล้วหละก็อาถรรพ์เลข 9 จะตีกลับนั่นหมายความว่าคนจะตีความว่าของทั้งร้านลงท้ายด้วยเลข 9 หมดเลยคือของที่คุณภาพไม่ค่อยดี รู้สึกว่าของนั้นถูกทั้งร้านไม่มีของที่ดีเลย สรุปคือถ้าตั้งราคาของด้วยเลข 9 มากเกินไป www.myslotscr888.com จะทำให้ขายของได้น้อยลงอย่างไม่น่าเชื่อ

วันศุกร์

(IMC) การโฆษณา : Advertising

การโฆษณา Advertising


การโมษณา คือ การเสนอข่าวสารการขาย หรือแจ้งข่าวสารให้บุคคลที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทราบเกี่ยวกับสินค้า บริการ หรือแนวความคิด โดยเจ้าของหรือผู้อุปถัมภ์เปิดเผยตนเอง มีการจ่ายเงินเพื่อการใช้สื่อ และเป็นการเสนอข้อมูลที่มิใช่เป็นการส่งบุคคลเข้าไปติดต่อโดยตรง

คำจำกัดความของการโฆษณา
การนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อที่ไม่ใช่ตัวบุคคล รวมทั้งการส่งเสริมเผยแพร่ความคิดเห็นสินค้าหรือบริการและต้องจ่ายเงินโดยผู้สนับสนุนที่ระบุไว้

การโฆษณา (Advertising) การนำเสนอต้องผ่านสื่อกลางที่ไม่ใช่ตัวบุคคล
- การระบุผู้อุปถัมภ์: ต้องบอกว่าใครเป็นเจ้าของสินค้า
- ต้องมีการชำระเงิน
- การส่งเสริมเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์: เพื่อให้ลูกค้ารับข่าวสาร และพอใจ

(IMC) การประชาสัมพันธ์ : Public relations

การประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ คือ เครื่องมือการสื่อสารการตลาด ที่มุ่งสร้างภาพพจน์และทัศนคติที่ดีขององค์กรผลิตภัณฑ์ และตรายี่ห้อต่อผู้บริโภค สื่อมวลขน สาธารณชน พนักงานในองค์กร ผู้ถือหุ้นหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มมวลชนอื่น ๆ

วัตถุประสงค์
1.สร้างภาพพจน์ที่ดี ทั้งต่อองค์กร ตรายี่ห้อ และสินค้า
2.ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
3.สร้างความน่าเชื่อถือ

ประเภทของการประชาสัมพันธ์
  1.การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (Proactive PR)  เป็นการมุ่งสร้างโอกาสทางการตลาดมากกว่าคอยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวในภาวะการแข่งขันทางการตลาดอย่างรุนแรง การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุกมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะมุ่งวัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นสำคัญ

วันจันทร์

(IMC) Exhibitions การจัดนิทรรศการ

นิทรรศการ (Exhibitions) "นิทรรศการ" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Exhibitions" มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "Display" ซึ่งแปลว่า "การจัดแสดง" ความหมายของนิทรรศการ มีนักเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของนิทรรศการ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ความคิด เร้าให้เกิดความสนใจในเนื้อหา ซึ่งเสนอและกระตุ้นให้มีการกระทำบางอย่าง เนื้อหา ที่ง่ายและ ชัดเจน จะเป็นการเพิ่มโอกาสแก่ผู้ดูให้สามารถรับและมีความเข้าใจเนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้นการวางแผนการถ่ายทอดความรู้

นิทรรศการประเภทต่าง ๆ 
นิทรรศการเป็นการแสดงการให้การศึกษาอย่างหนึ่ง ด้วยการแสดงงานให้ชม เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีบทบาทมากขึ้นทุกขณะ ทั้งทางด้าน การศึกษา ธุรกิจ สังคม การเมือง แพทย์ และทางด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนั้นเพื่อให้ผู้สนใจ สถาบัน องค์การ หรือหน่วยงานเลือก จัดนิทรรศการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จึงควรทราบถึงนิทรรศการประเภทต่าง ๆ


นิทรรศการแบ่งตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท

1.นิทรรศการถาวร (Permanent Exhibition) หมายถึง นิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องราวเดิม ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นที่รวบรวมสิ่งแสดง ของที่ใช้จัดอาจจะเป็นของจริง หุ่นจำลอง รูปภาพ ฯลฯ ที่นำมาแสดงนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบ และวิธีการ จัดอยู่ในอาคารหรือสถานที่เดิม ไม่เปลี่ยนแปลง เปิดโอกาส ให้ผู้ชมเข้ามาชมได้ตลอดเวลา ส่วนใหญ่ที่รู้จักกันดีก็คือ พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ

2.นิทรรศการชั่วคราว เป็นการจัดนิทรรศการเป็นครั้งคราวในวาระโอกาสหรือเทศกาลพิเศษเพื่อแสดงความรู้ใหม่ ๆ แผนงานพิเศษ วาระในวันสำคัญของชาติหรือหน่วยงาน หรือเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์กรณีพิเศษ นิทรรศการชั่วคราวอาจจัดแสดง ในสถานที่เดิม เป็นประจำแต่สื่อที่นำมาแสดงชุดนั้น ๆ จัดอยู่ไม่นานนัก อาจเป็นสัปดาห์หรือสองสามเดือนก็เปลี่ยนใหม่ หรือเลิกไป

3.นิทรรศการเคลื่อนที่ หมายถึง นิทรรศการที่จัดขึ้นเป็นชุดสำเร็จ เพื่อแสดงในหลาย ๆ ที่ หมุนเวียนกันไป รูปแบบและสื่อหลักที่นำมาแสดง เป็นแบบเดิม วัตถุประสงค์ในการจัดเป็นแบบเดิมอาจมีสิ่งของหรือการแสดง ประกอบเพิ่มเติม ในบางครั้งนั้น ส่วนสถานที่จัดก็หมุนเวียน เปลี่ยนไปเรื่อย อาจเคลื่อนที่ไปต่างจังหวัดหรือจังหวัดเดียวกันแต่เปลี่ยนชุมชนที่นำไปแสดง เช่น นิทรรศการศิลปะ นิทรรศการตราไปรษณียากร

ประเภทของนิทรรศการแบ่งตามลักษณะของสถานที่จัด มี 3 ประเภท

1.นิทรรศการกลางแจ้ง อาจจะจัดแบบนิทรรศการถาวร นิทรรศการชั่วคราวหรือนิทรรศการเคลื่อนที่ก็ได้ เพียงแต่ สถานที่จัดเป็นการจัดนอกอาคาร และอาจจัดในสนามโดยใช้เต็นท์นิทรรศการประเภทนี้ มีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับรูปแบบ ลักษณะวิธีจัดด้วย และมีขอบเขตการแสดงกว้างขวาง นิทรรศการกลางแจ้งแบบถาวร

2.นิทรรศการในร่ม คือ นิทรรศการที่จัดในบริเวณอาคาร หรือจัดสร้างอาคารเพื่อแสดงนิทรรศการ โดยเฉพาะนิทรรศการแบบนี้ อาจจัดโดยวิธีแบบถาวร แบบชั่วคราว หรือแบบเคลื่อนที่ก็ได้ นิทรรศการในร่มแบบถาวร เช่น ในอาคารของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานาคร หรือพิพิธภัณฑ์จังหวัด นิทรรศการในร่มแบบชั่วคราว จัดขึ้นโดยมีระยะเวลาแสดงแน่นอน มีจุดมุ่งหมาย แคบลงแต่เด่นชัด

3.นิทรรศการลอยฟ้า เป็นนิทรรศการที่จัดกลางอากาศ เป็นการแสดงสิ่งประดิษฐ์ เพื่อการค้าหรือประกอบการพาณิชย์ เช่น นิทรรศการบอลลูนนานาชาติ การแสดงบอลลูนแบบแปลก ๆ เป็นต้น

ประเภทของนิทรรศการแบ่งตามจุดประสงค์การจัด มี 6 ประเภท คือ 
1. นิทรรศการทางการศึกษา
2. นิทรรศการทางการตลาด
3. นิทรรศการทางการเมือง
4. นิทรรศการศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
5. นิทรรศการทางการทหาร
6. นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร


ขั้นตอนและการดำเนินงานจัดนิทรรศการ
ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน  ขั้นวางแผนเป็นขั้นของการคิด ในการที่จะดำเนินการจัดนิทรรศการทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การหาชื่อเรื่อง ของนิทรรศการ การตั้งจุดมุ่งหมาย งบประมาณ สถานที่ ไปจนถึงขั้นสุดท้ายของการจัดนิทรรศการ คือ การสรุปผล ซึ่งใน ขั้นของการวางแผนอาจจะเขียนในรูปของ โครงการจัดนิทรรศการก็ได้

ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมการและออกแบบ เมื่อได้กำหนดโครงการการจัดนิทรรศการเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นการเตรียมการและออกแบบ ในการเตรียมการนั้น ก็เตรียมการตั้งแต่เนื้อหา รวบรวมวัตถุสิ่งของหรือเอกสารต่าง ๆ ที่จะนำออกแสดง จัดแบ่งประเภท หมวดหมู่ และความสำคัญตามลำดับ แล้วจัดทำชื่อทะเบียนประจำวัตถุ คำบรรยายของสิ่งต่าง ๆ

ขั้นที่ 3 ขั้นการจัดทำ เมื่อได้เตรียมการและออกแบบแล้ว ก็ถึงขั้นลงมือจัดทำ ในขั้นนี้ต้องใช้บุคคลฝ่ายต่าง ๆ มากมาย เช่น นักวิชาการ ช่างเทคนิคและช่างศิลป์ มาร่วมมือกันปฏิบัติงาน ตามลักษณะงานที่ตนเองถนัดและชำนาญ โดยเริ่มตั้งแต่ การจัดทำแผง การทำฐานตั้ง การทำตู้กระจก การเขียนตัวอักษร การจัดไฟ การประดับตกแต่งห้อง การจัดวางหรือ ติดตั้ง แขวนวัตถุสิ่งของที่จะจัดแสดง

ขั้นที่ 4 ขั้นการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณา เพื่อเชิญชวนหรือชักจูงหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน เพื่อให้ทราบ ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับงานนิทรรศการ เช่น งานนิทรรศการจัดระหว่างวันที่ เดือน ปีอะไร ภายในงานมีการจัดแสดงอะไรไว้บ้าง รายการใดที่มีความสำคัญ หรือมีคุณค่ามาก เก็บเงินค่าผ่านประตูหรือไม่ เป็นต้น

ขั้นที่ 5 ขั้นการนำเสนอ การนำเสนอคือการให้ประชาชนเข้าชมและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้จัดนิทรรศการจัดทำขึ้น ซึ่งในขั้นของการนำเสนอนี้ มีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ คือ พิธีเปิดนิทรรศการ การสาธิต การจัดกิจกรรมต่าง ๆ

ขั้นที่ 6 ขั้นการประเมินผล ในการจัดนิทรรศการนั้น ควรมีการประเมินผลไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่านิทรรศการที่จัดขึ้นนั้น บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มีข้อดีและข้อควรปรับปรุงอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อจะได้นำไปใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณา ปรับปรุงแก้ไขการจัดนิทรรศการครั้งต่อไป

ขั้นที่ 7 ขั้นการสรุปผล หลังจากจัดนิทรรศการผ่านพ้นไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ควรมีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่ร่วมจัดนิทรรศการเพื่อทำการประเมินผล ผลการจัดนิทรรศการในส่วนที่คณะกรรมการชุดนั้น ๆ รับผิดชอบ ว่าผลการจัด นิทรรศการนั้นเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรค ข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง


ข้อดีของการจัดนิทรรศการ
1. เป็นการให้การศึกษาอย่างหนึ่งแก่ผู้ชม โดยไม่ต้องมีครูมาบรรยายให้ฟัง
2. ทำให้การเรียนการสอนมีคุณค่าขึ้น เพราะการจัดนิทรรศการขึ้นเพื่อแสดงเนื้อหาของ บทเรียนต่าง ๆ ที่ครูสอน
3. ยั่วยุให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการเรียน (MOTIVATION) เพราะเป็นการเร้าใจให้เด็กเกิดการอยากเรียน และมีความสนใจเข้าใจ ในเนื้อหา ของวิชาที่สอน
4. ทำให้เด็กนักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เพราะเป็นการให้เนื้อหาวิชาที่เรียนทั้งทางตา ทางหู และการสัมผัส
5. สร้างเสริมความรับผิดชอบของกลุ่ม ของแต่ละบุคคล เพราะการให้เด็กได้จัดนิทรรศการเป็นการส่งเสริมให้เด็ก มีโอกาส ทำงานร่วมกับผู้อื่น

ข้อเสียของการจัดนิทรรศการ
1. มีเวลาจัดเตรียมไม่เพียงพอ
2. ผู้ออกแบบไม่มีความรู้ ไม่ทราบจุดมุ่งหมายของการแสดง
3. ผู้ออกแบบ (DESIGNER) สถาปนิก (ARCHITECT) และผู้ออกแบบโฆษณา(GRAPHIC ARTIST) และเจ้าของร้าน ไม่ประสาน งานกัน คือผู้ออกแบบไม่ทราบวัตถุประสงค์ของเจ้าของ เจ้าของไม่ทราบแนวความคิดของผู้ออกแบบ จึงทำให้เสียผล ประโยชน์ อย่างมาก
4. ความบกพร่องทางเทคนิค เช่น คำอธิบาย ไม่ชัดเจน แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือใช้ไฟเน้นผิดตำแหน่งที่ควรจะเน้น เป็นต้น

(IMC) การจัดศูนย์สาธิตการทำงานของสินค้า

การจัดศูนย์สาธิต หมายถึง วิธีการที่วิทยากรแสดงหรือทดลอง และอธิบายไปพร้อมๆ กัน ผู้เรียนเป็นผู้ดู ผู้ฟัง พร้อมทั้งจดบันทึกตามที่วิทยากรแสดงทดลองหรืออธิบาย วิธีการสาธิตเป็นการแสดงหรือกระทำ เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นและได้เข้าใจอย่างชัดเจน อาจเป็นการแสดงโดยใช้อุปกรณ์เครื่องมือ


วิธีการสาธิตอาจทำได้หลายวิธี   ดังนี้ 
1. วิทยากรเป็นผู้สาธิต
2. วิทยากรและผู้เรียนร่วมกันสาธิต โดยมีผู้เรียนเป็นผู้ช่วย
3. ผู้เรียนทั้งกลุ่มเป็นผู้สาธิต
4. ผู้เรียนคนเดียวเป็นผู้สาธิต
5. วิทยากรภายนอกเป็นผู้สาธิต

การสอนแบบสาธิต มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้ 
วิทยากร
1.บอกวัตถุประสงค์ของการสาธิต
2. สาธิตการปฏิบัติที่ถูกต้อง
3. แนะให้คิด ตามลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ
4. จัดให้มีการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
5. ให้ข้อติชมที่เหมาะสม
6. เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีการประเมินผล การปฏิบัติด้วยตนเอง

ผู้เรียน
1. รับทราบวัตถุประสงค์
2. สังเกตการปฏิบัติ
3. ติดตามลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
4. ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
5. แก้ไขข้อผิดพลาดและทำซ้ำใหม่
6. ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง


ข้อควรคำนึงในการสอนแบบสาธิต การทำงาน
- วิทยากรต้องมีความพร้อม เช่น มีความรู้ในเรื่องที่สาธิตและการอธิบายต้องผสมกลมกลืนกัน มีอุปกรณ์ครบถ้วนและพร้อมที่จะปฏิบัติ
- วิทยากรต้องมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือเป็นอย่างดี
- วิทยากรต้องจัดเครื่องมือ หรือวัสดุต่างๆ ไว้ให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ และควรทดสอบดูว่าเครื่องมือหรือวัสดุต่างๆ เหล่านั้นอยู่ในสภาพที่ใช้ได้
- ควรระวังอย่าใช้เวลาในการสาธิตมาก จนผู้เรียนไม่มีเวลาปฏิบัติ
- การสาธิตในวิชาที่ให้เกิดแนวคิด หรือความคิดริเริ่ม เช่น การพูด การเขียน การขับร้อง ฯลฯ ควรสาธิตเฉพาะเทคนิคการปฏิบัติ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยควรให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ข้อดี ของการสาธิตการทำงานของสินค้า
1) ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
2) ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและจดจำเรื่องที่สาธิตได้นาน
3) ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
4) ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา
5) ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์

ข้อจำกัด ของการสาธิตการทำงานของสินค้า
1) หากผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไปก็อาจทำให้การสังเกตไม่ทั่วถึง
2) ถ้าผู้เรียนเตรียมการมาไม่ดีเมื่อเวลาสาธิตวนไปวนมาหรือสาธิตไม่ชัดเจนก็ทำให้ได้ผลไม่ดี
3) ถ้าการสาธิตนั้นเน้นที่ผู้สอนโดยผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติเลย ผู้เรียนก็อาจจะได้ประสบการณ์น้อย
4) บางครั้งการสาธิตที่เยิ่นเย้อก็ทำให้เสียเวลา

วันอาทิตย์

(IMC) Sport Marketing : การสื่อสารการตลาดเฉพาะเจาะจงด้านกีฬา

ความหมายของ Sport Marketing
Sports  Marketing  หมายถึง  การประยุกต์ใช้หลักการทางการตลาดและกระบวนการทางการตลาดที่เฉพาะเจาะจงสำหรับทางการกีฬา  และที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกีฬาทั้งหมด

Sport Marketing สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ

1.การทำเป็น Event Marketing
เป็นประเภทการทำ Sport Marketing รูปแบบหนึ่ง ซึ่งเจ้าของสินค้าเป็นผู้จัดการแข่งขันกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นมาเอง เช่น อีซูซุมีการจัดการแข่งขันชกมวย



2. การทำSponsorship Marketing
เป็นประเภทการสนับสนุนทางการตลาดที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุด โดยตราสินค้าทำการสนับสนุนงบประมาณในการแข่งขันกีฬา ซึ่งอาจเป็นทั้งทีม เฉพาะนักกีฬาคนใดคนหนึ่ง หรือการให้อุปกรณ์กีฬา ชุดกีฬา เช่น เป๊ปซี่ร่วมกับสโมสรแมนยูไนเต็ด สอนเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆ ของการเล่นฟุตบอลในโครงการ ซอคเกอร์สคูล


สาเหตุที่กลยุทธ์นี้เป็นที่สนใจของนักกลยุทธ์IMC
1.กลุ่มเป้าหมายของสินค้าจำนวนมากให้ความสำคัญ และมีความชื่นชอบกีฬามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก
3.การแข่งขันกีฬาช่วยกำหนดประเมินการแบ่งส่วนตลาดและบอกถึงคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาแต่ละประเภทของสินค้าได้เป็นอย่างดี
4.สามารถทำให้ตราสินค้ามีโอกาสประชาสัมพันธ์โดยสื่อมวลชนที่ทำข่าวการแข่งขันกีฬานั้นๆ
5.โอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะเห็นตราสินค้ามีมากเนื่องจากแต่ละครั้งของการแข่งขันในกีฬาแต่ละประเภทมักมีช่วงการแข่งขันที่ยาวนาน

ประโยชน์ของการทำ Sport Marketing
1.สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมาย
2.ช่วยขจัดปัญหาด้านภาษา และข้อจำกัดด้านวัฒนธรรม
3.สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและหลากหลาย

ข้อจำกัดของการทำ Sport Marketing
1.เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ชอบกิจกรรมด้านกีฬาได้ยาก
2.ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับตราสินค้าในแง่ลบ
3.มีปัญหาในการประเมินผล

วันเสาร์

การเป็นผู้สนับสนุนด้านอื่นๆ : Others Sponsorship Marketing

การเป็นผู้สนับสนุนด้านอื่นๆ (Others Sponsorship Marketing) ซึ่งมีหลายรูปแบบด้วยกัน แต่จะกล่าวถึงเฉพาะที่สำคัญและเป็นที่รู้จักแพร่หลายเพียง 3 รูปแบบเท่านั้น คือ

1.การเป็นผู้สนับสนุนแบบเชื่อมโยงกับการกุศล (Cause-Related Sponsorship) เป็นรูปแบบของการเป็นผู้สนับสนุนที่เก่าแก่ที่สุด เพราะเป็นการบริจาคเพื่อการกุศลที่มีมานานแล้ว และในปัจจุบันก็ยังคงมีการเป็นผู้สนับสนุนในรูปแบบนี้อยู่ เพียงแต่ได้พัฒนาขึ้นโดยการผสมผสานกลยุทธ์ด้านการตลาดเข้าไปกับการบริจาคในครั้งนั้นๆ ด้วย การเป็นผู้สนับสนุนในรูปแบบเชื่อมโยงกับการกุศลนี้ สามารถสร้างความโดดเด่นให้กับตราสินค้าและองค์กรได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในลักษณะของการช่วยยับยั้งกระแสข่าวในเชิงลบ ดังนั้นการเป็นผู้สนับสนุนแบบนี้จึงสามารถผสมผสานกับการทำประชาสัมพันธ์องค์กรได้ เช่น กระดาษ “สก็อต“บริจาคเงินส่วนหนึ่งของการจำหน่ายกระดาษแต่ละแพ็กให้กับองค์กรการกุศล หรือเติมน้ำมัน “เชลล์“ ทุก 100 บาท จะหักเงิน 1 บาท เพื่อนำไปบริจาคให้กับโครงการอาหารกลางวันแก่เด็กผู้ยากไร้ เป็นต้น

2.การเป็นผู้สนับสนุนแบบแอบแฝง (Ambush Sponsorship) โดยเฉพาะในช่วงการแข่งขันกีฬาแมทช์ใหญ่ ๆ อย่าง ฟุตบอลโลก จะมีตราสินค้าหนึ่งเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีสินค้าคู่แข่งพยายามทำกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันดังกล่าว หรือถ้าทำได้ก็จะเข้าไปสนับสนุนโดยการซื้อสปอตโฆษณาในช่วงเวลาใกล้เคียงหรือช่วงเดียวกันกับการแข่งขัน เพื่อตั้งใจที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจผิดและเกิดความสับสนว่าตราสินค้าของตนก็ร่วมสนับสนุนการแข่งขันด้วยเช่นกัน ทั้งๆ ที่ไม่ได้เสียเงินสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวแต่อย่างใด

3.การเป็นผู้สนับสนุนแบบมัสช์ (Mush Sponsorship) คำว่า “MUSH“ ย่อมาจาก Municipal, University, Social และ Hospital มีความหมายใกล้เคียงกับการเป็นผู้สนับสนุนแบบเชื่อมโยงการกุศล เพียงแต่เน้นที่การสนับสนุนสำหรับภาครัฐ มหาวิทยาลัย สังคม และ โรงพยาบาลเท่านั้น