การโฆษณา Advertising
การโมษณา คือ การเสนอข่าวสารการขาย หรือแจ้งข่าวสารให้บุคคลที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทราบเกี่ยวกับสินค้า บริการ หรือแนวความคิด โดยเจ้าของหรือผู้อุปถัมภ์เปิดเผยตนเอง มีการจ่ายเงินเพื่อการใช้สื่อ และเป็นการเสนอข้อมูลที่มิใช่เป็นการส่งบุคคลเข้าไปติดต่อโดยตรง
คำจำกัดความของการโฆษณา
การนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อที่ไม่ใช่ตัวบุคคล รวมทั้งการส่งเสริมเผยแพร่ความคิดเห็นสินค้าหรือบริการและต้องจ่ายเงินโดยผู้สนับสนุนที่ระบุไว้
การโฆษณา (Advertising) การนำเสนอต้องผ่านสื่อกลางที่ไม่ใช่ตัวบุคคล
- การระบุผู้อุปถัมภ์: ต้องบอกว่าใครเป็นเจ้าของสินค้า
- ต้องมีการชำระเงิน
- การส่งเสริมเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์: เพื่อให้ลูกค้ารับข่าวสาร และพอใจ
กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาโดยตรง
1.ผู้โฆษณา
2.สำนักงานโฆษณา
3.สื่อโฆษณา
4.องค์การที่ให้บริการในลักษณะพิเศษ
1.ผู้โฆษณา (Advertiser) เป็นทั้งผู้ที่เป็นเจ้าของสินค้าหรือผู้ผลิตสินค้า เป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
ตัดสินใจเกี่ยวกับแนวความคิดต่างๆ ให้รายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์ แต่บริษัทใหญ่จะมี House Agency ของตนเอง
2.สำนักงานโฆษณา (Advertising Agency)
บริษัทรับจ้างผลิตชิ้นงานโฆษณา ให้บริการต่างๆ เช่น วิเคราะห์สภาพตลาด, วิจัยตลาด , การลงโฆษณาตามสื่อต่างๆ ฯลฯ
บริการของสำนักงานโฆษณา
- ตัวแทนหนังสือพิมพ์
- การซื้อขายเนื้อที่เฉพาะงานในหนังสือพิมพ์
- การซื้อขายเนื้อที่หนังสือพิมพ์แบบค้าส่ง
- สำนักงานสัมปทานโฆษณา
- สำนักงานโฆษณาตัวแทนของผู้โฆษณา
รายได้ของสำนักงานโฆษณา
ค่านายหน้าจากสื่อโฆษณา ~ 15%
ค่าธรรมเนียม: เป็นจำนวนเงินคงที่ 17.65% จากต้นทุนการโฆษณาทั้งหมด
3.สื่อโฆษณา (Advertising Media)
เลือกสื่อที่ดีและเหมาะสม
เพื่อส่งข่าวได้มากที่สุด เร็วที่สุดในวงเงินที่มงบประมาณจำกัด
ปัจจัยพิจารณาในการเลือกสื่อ
วัตถุประสงค์ของการโฆษณา
จำนวนการเข้าถึงของสื่อ: ขอบเขตการเข้าถึง
ข้อกำหนดของข่าวสาร: ต้องสอดคล้องกับข่าวเรา
เวลาและสถานที่ในการตัดสินใจ
ต้นทุนของสื่อ
ประเภทของสื่อโฆษณา
การโฆษณากลางแจ้ง
สื่อไปรษณีย์โดยตรง
โรงภาพยนตร์
สื่อออนไลน์
หนังสือพิมพ์
นิตยสาร
โทรทัศน์
วิทยุ
หนังสือพิมพ์
แพร่หลาย คนอ่านมาก
ข้อดี
ลงภาพและรายละเอียดได้
แทรกใบโฆษณาและคูปองได้
เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างและรวดเร็ว
ยืดหยุ่นในการแก้ไขสูง
ข้อเสีย
ภาพไม่สวย
ขาดความโดดเด่น
ผู้อ่านจะอ่านเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง
นิตยสาร
ข้อดี
เลือกกลุ่มเป้าหมายได้(อย่างเจาะจงด้วย)
ภาพสวยงาม
ใช้คูปองและแบบตอบรับได้
ผู้อ่านมีโอกาสอ่านโฆษณามากขึ้น
สร้างภาพลักษณ์ได้
ข้อเสีย
เข้าถึงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
เปลี่ยนแปลงข้อความโฆษณาได้ลำบากมาก
เป็นสื่อที่ออกมาช้า
โทรทัศน์
มีประสิทธิภาพที่สุด นิยมสุด
ข้อดี
เข้าถึงได้กว้าง
ให้ผลด้านความประทับใจสูง
ปรับปรุงข้อความได้
สร้างภาพพจน์ที่ดีแก่ผลิตภัณฑ์
ข้อเสีย
ราคาแพง
ผู้ชมจำได้น้อย
ผู้ชมไม่ค่อยชอบชมโฆษณา
วิทยุ
เข้าถึงและครอบคลุมเป้าหมายมากที่สุด
ข้อดี
กระจายข่าวสารได้มากและเร็ว
ปรับปรุงโฆษณาได้
ง่ายและค่าใช้จ่ายต่ำ
สถานีวิทยุมีให้เลือกมาก
ความถี่ในการโฆษณาสูง
ข้อเสีย
ถ้าไม่ตั้งใจฟัง ก็จะรับรู้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
ไม่สามารถเห็นภาพผลิตภัณฑ์ได้
การเผยแพร่ข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
การโฆษณากลางแจ้ง
ต้องง่ายๆ สั้นๆ เห็นชัด สะดุดตา
ข้อดี
สื่อสารได้รวดเร็วและบ่อยครั้ง
ครอบคลุมได้กว้างขวาง
จัดทำให้เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่นได้
ค่าโฆษณาไม่แพงนัก(ต่อหัว)
เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย
ข้อเสีย
ข้อความอาจสั้นไปจนไม่ชัดเจน
ทำลายความสวยงามธรรมชาติ
ไม่สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายได้
สื่อไปรษณีย์โดยตรง
เข้าถึงเป้าหมาย โดยเป้าหมายไม่ได้สนใจล่วงหน้า
ข้อดี
ระบุกลุ่มเป้าหมายได้
ควบคุมการดำเนินกิจการโฆษณาได้
มีความยืดหยุ่นในการแก้ไขและเลือกรูปแบบ
ปกปิดโครงการได้
ข้อเสีย
อาจจะไม่ได้รับความสนใจและเป็น Junk mail
รายชื่อเป้าหมายอาจไม่ถูกต้อง
ค่าใช้จ่ายสูง
โรงภาพยนตร์
ข้อดี
ได้ภาพขนาดใหญ่ ระบบแสง สี เสียง
ผู้ดูถูกบังคับให้ชม
เจาะตลาดตามเขตได้
ข้อเสีย
ราคาแพงและใช้เวลาผลิตนาน
ต้องซื้อสื่อเป็นรายเดือน
ระบบออนไลน์
ข้อดี
ไม่มีขีดจำกัดด้านพื้นที่ กว้างขวางทั่วโลก
เปิดดูได้ 24 ช.ม.
เปลี่ยนรูปแบบโฆษณาได้รวดเร็ว
ราคาสื่อไม่แพง
ลูกค้าบันทึกข้อความและภาพโฆษณาได้
ข้อเสีย
ไม่เหมาะกับลูกค้าทุกกลุ่ม
สร้างความรำคาญให้กับลูกค้าในบางครั้ง
เป็นการมัดมือชกให้ดูหรืออ่านโฆษณา
4.องค์การที่ให้บริการในลักษณะพิเศษ
องค์การที่ให้บริการประกอบอื่นๆ แก่ผู้โฆษณา สำนักงานโฆษณาและสื่อโฆษณาเช่น โรงพิมพ์ ห้องถ่ายภาพ นักวิจัย
ประเภทของการโฆษณา
การโฆษณาระดับชาติ
ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายทำการโฆษณา
มุ่งสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศ เช่น บริษัท P&G โฆษณาแชมพูแพนทีน
การโฆษณาเพื่อการค้าปลีก
ห้างร้านที่จำหน่ายสินค้าทำการโฆษณา
มุ่งสู่ผู้บริโภคในแต่ละตลาด เช่น การโฆษณาของห้าง Royal Garden พัทยา
การโฆษณาเพื่ออุตสาหกรรม
ผู้ผลิตโฆษณาไปสู่ผู้ผลิตรายอื่น
เพื่อนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ทำการผลิตต่อ
เป็นการโฆษณาถึงลูกค้าโดยตรง
เช่น การออกงานแสดงสินค้าต่างๆ
การโฆษณาเพื่อการค้า
ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายโฆษณาสินค้าที่จะนำสู่ตลาด มุ่งสู่พ่อค้าปลีก พ่อค้าส่ง
เพื่อให้มีการสต๊อกสินค้าหรือเป็นตัวแทนขาย
การโฆษณากับบุคคลเฉพาะอาชีพ
ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายทำการโฆษณา
ต้องอาศัยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
เช่น ยา สารเคมี อุปกรณ์เทคโนโลยี
การโฆษณาความคิด
องค์การต่างๆ เป็นผู้โฆษณา
ให้ประชาชนรับทราบและชักจูงให้เห็นพ้อง
เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ